อาสาฬหบูชาวันสำคัญ พระพุทธเจ้านั้นทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 และสร้างตำนานวันครบรัตนตรัยสามประการ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อาสาฬหบูชา เราจำกันว่า ได้ครบรัตนตรัยสามประการ พระพุทธเจ้าแสดงธรรม และพระสงฆ์ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ พร้อมกันเลย หากว่าเรานั้นได้เคยดูพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลกนั้น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ได้อดอาหารจนร่างกายผอมโซ แต่หลังจากนั้นได้ความคิดว่านี่ไม่ใช่ทางแห่งนิพพานหลุดพ้นจึงได้เลิกล้มความตั้งใจหันมาฉันอาหาร ปัญจวัคคีย์เลยหมดศรัทธาจากมาแยกย้าย การบูชาด้วยดอกไม้นั้นเป็นสิ่งที่ทำต่อกันมาเรื่อยๆ เมื่อถึงวันนี้เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ถือว่าเป็นวันพระรัตนตรัย การทำบุญถือว่าเป็นการสละและทิ้งในความทุกข์ไป ทำใจของเราให้สงบสุขไม่คิดร้ายใคร ไม่อาฆาตใคร พร้อมที่จะส่งใจที่บริสุทธิ์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงได้เดินทางไปหาปัญจวัคคีย์และได้เทศนาในครั้งแรก ด้วยการเทศนานั้นจึงทำให้เกิดพระอรหันต์พร้อมกันเลยทั้ง 5 องค์ วันนี้เป็นวันสำคัญทางศาสนาที่ถือว่าเป็นวันหยุดสิ่งที่ต้องทำในวันนี้คือการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และเตรียมพร้อมสำหรับการเวียนเทียนในตอนเย็น สิ่งที่ต้องมีอย่างแรกในการเวียนเทียน เพื่อเตรียมพร้อมนั้นจะต้องมีในส่วนของดอกไม้ ดอกบัว การบูชาด้วยดอกบัวนั้นมีมาตั้งแต่พุทธกาล ดอกบัวคือความบริสุทธิ์ขาวสะอาด เปรียบเหมือนใจของคนเราที่มีใสบริสุทธิ์ เมื่อเรานั้นได้ดอกบัวตูมมาเราจะนำมาพับให้สวยงาม พร้อมสำหรับการถวายพระ หนังสือบทสวดมนต์ต่างๆ ที่ในการเวียนเทียนเราจะต้องมีการสวดมนต์ บทสำหรับบูชาในวันอาสาฬหบูชา แล้วแต่วัดแต่ละที่ ส่วนมากก็จะมีสวดทำวัตรเย็น และชิณบัญชร สวดแจง หรืออาจจะสวดในบทของพระสูตรด้วยได้ แต่โดยทั่วไปแล้วจะสวดบทระลึกถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ อิติปีโส นอกจากนั้นก็จะถวายดอกไม้ธูปเทียนบูชาเพื่อที่จะบูชาพระรัตนตรัย คำกล่าวทั่วไปคือ บทบูชาพุทธคุณ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ ทรงเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย้างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน บทสวดบูชาธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน คำกล่าวถวายดอกไม้ธูปเทียน อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัป ปัตติยา อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อิเมหิ สักกาเรหิ สักกัจจัง อะภิปูชะยามิ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเครื่องสักการะเหล่านี้ คือ ธูป เทียน และดอกไม้ อันประเสริฐ แก่พระรัตนตรัย การบูชาพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ สิ่งที่ต้องเตรียมคือ เทียน ๑ เล่ม ธูป ๓ ดอก และดอกไม้ ๑ กำ ๑ ช่อใช้ในการเวียนเทียน เทียนนั้นสามารถที่จะใช้เทียนหอมได้เช่นกัน จะมีแก้วในการรองน้ำตาเทียน จุดแล้วเดินเวียนสามรอบ เราจะเห็นได้ว่า สมัยนี้ดอกไม้ที่นำมาเวียนเทียนจะมีดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกไม้ที่มีสีขาว แต่หากว่าหาได้ส่วนใหญ่จะเป็นดอกบัว ดอกบัวนั้นหากว่าเรานั้นจะใช้ในการเวียน อาจจะต้องมีสองดอกเป็นคู่ การเพิ่มความสวยให้กับดอกบัวนั้นส่วนใหญ่ะจะพับและวางไว้ ในการเวียนเทียนนั้นคือการถวายใจเป็นพุทธบูขา การคิดดี ละเว้นความชั่วแล้วทำแต่ความดี สิ่งเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นที่ดีแล้ว ดอกบัวสีชมพูได้เช่นกัน ดอกไม้ถวายพระ ในอินเดียนั้นดอกไม้คือความสวยงาม ไม่ว่าจะดอกไม้สีอะไรสามารถที่จะถวายพระได้ทั้งหมด เดินเวียนแล้วนำไปกราบไหว้พระ เพราะว่าดอกสีขาวนั้นหาได้ยาก ความสุขเกิดจากใจ การเวียนเทียนก็เช่นกัน หากว่าเรานั้นไม่มีดอกไม้หรือธูปเทียน สามารถที่จะประนมมือทั้งสิบนิ้วของเราให้เหมือนกันกับดอกบัวตูม กล่าวคำบูชาขณะที่เราเวียนเทียนทำจิตใจให้ใสสะอาดและมีความสุขเท่านี้ก็เพียงพอได้ ด้วยการถวายใจเป็นพุทธบูชา การเตรียมตัวในการเวียนเทียนนั้น จะต้องเตรียมในเรื่องของร่างกายด้วยก่อนการทำความดี เวียนเทียนจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายของเรานั้นให้สะอาดเย็นสบาย กลิ่นตัวหอมสดชื่น หากว่าร่างกายนั้นมีแต่กลิ่นเหงื่อไคล ไม่ดีต้องอาบน้ำก่อนจึงจะดี ภาพถ่ายทั้งหมดโดยผู้เขียน คนในภาพคือพี่ชายและพี่สาว ภาพปกจาก Canva เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !