บางครั้งที่เราไปร่วมงานบวชหรืองานศพ เรามักจะเห็นว่า เจ้าภาพมีการโปรยทานด้วยเหรียญให้แขกที่มาร่วมงาน ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมต้องโปรย ถ้าไม่โปรยจะเป็นไรไหม แล้วเหรียญโปรยทานทำยังไง บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับกิจกรรมการโปรยทานที่แฝงอยู่ในงานต่างๆว่าเพราะอะไรถึงมีสิ่งนี้แนวคิด/ที่มาของการโปรยทานการโปรยทานที่แฝงอยู่ในงานบวชกับงานศพ สันนิษฐานว่าเป็นความเชื่อที่มีแนวคิดมาจาก การสละทรัพย์สินเงินทองของพระพุทธเจ้าเมื่อออกผนวชและไม่มีความต้องการเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยมองว่าทรัพย์สินเงินทองหรือสมบัติล้ำค่าใดๆเป็นของนอกกาย ซึ่งการบวชไม่จำเป็นต้องมีต้องใช้ รวมถึงตอนตายก็เอาไปไม่ได้ เป็นการสอนให้คนรู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันผู้อื่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสมบัติเงินทองซึ่งไม่ใช่แก่นสารของชีวิต สอนให้รู้จักทำ “ทาน” คือ การให้ๆด้วยใจที่เป็นสุขโดยไม่หวังผลตอบแทนดังนั้นหากย้อนไปที่คำถามว่าทำไมงานบวชกับงานศพต้องโปรยทาน ก็เพราะเชื่อกันว่า "การให้" เป็นการทำบุญที่อานิสงส์แรง มีความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ รวมถึงเป็นการเปรียบว่าก่อนนาคเข้าโบสถ์นาคได้ละจากสมบัติต่างๆเพื่อดำเนินชีวิตตามแบบพระพุทธเจ้าแล้ว กับยังมีความเชื่อเรื่องการซื้อทางเพื่อเปิดทางให้ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดีอีกด้วยแล้วถ้าเราไม่โปรยได้ไหมหากเราต้องเป็นเจ้าภาพงานบวชหรืองานศพ แล้วเราไม่อยากโปรยทาน ไม่ต้องการทำกิจกรรมนี้ในงานของเรา เราก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ทำไม่โปรยก็ได้ เพราะอย่างที่บอกไปเป็นเรื่องของความเชื่อ อีกทั้งไม่ได้เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าต้องทำ และถึงแม้เราจะไม่โปรยทานในงานที่เราเป็นเจ้าภาพ การบวชหรือการจัดงานศพก็สามารถเสร็จสิ้นได้ตามปกติ แต่เท่าที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมงานเหล่านี้หลายครั้ง …ก็เห็นมีการโปรยทานกันทุกงาน ไม่มีเจ้าภาพงานใดเลยที่จะไม่โปรยเหรียญโปรยทานทำยังไงวิธีการทำอาจมีหลายแบบ แต่ถ้าดูตามประเพณีนิยมก็เพียงแค่นำเงินเหรียญที่ต้องการจะโปรยแจก ซึ่งมักใช้เป็นเงินเหรียญ 1 บาท นำมาห่อด้วยริบบิ้นสีสันต่างๆ กระดาษเงิน กระดาษทอง หรืออย่างอื่นตามความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าภาพ ก็ใช้ได้ทั้งนั้นนอกจากงานบวชกับงานศพ... งานแต่งก็มีโปรยทาน !หลายคนอ่านแล้วอาจจะงง เคยไปร่วมงานแต่งของครอบครัวเพื่อนฝูง ไม่เห็นมีโปรยทานไม่ใช่เหรอ คือ จริงๆแล้วการโปรยทานของงานแต่งหรืองานมงคลสมรส อาจไม่นิยมโปรยเป็นเหรียญเหมือนงานบวชกับงานศพ แต่มักจะอยู่ในรูปแบบของ “ซองมงคล” ที่แจกให้คนถือประตูเงินประตูทอง ซึ่งจัดเป็นการโปรยทานอย่างหนึ่งตามแบบประเพณีไทยก็สรุปได้ว่า การโปรยทานเป็นการทำบุญตามความเชื่อว่าได้อานิสงส์มาก เป็นกิจกรรมที่แฝงคติไม่ให้ยึดติดในสมบัติทรัพย์สิน ซึ่งนิยมโปรยในงานบวช งานศพ และงานแต่ง โดยเจ้าภาพสามารถจัดทำเหรียญโปรยทานได้ตามความคิดสร้างสรรค์ภาพปกและภาพประกอบโดย : นักเขียนติดตามผลงานอื่นของนักเขียนได้ที่ @ArtVich เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !