วันสงกรานต์ของทุกๆ ปี ประเพณีหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือการ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการขอขมาแสดงถึงความเคารพนบน้อมต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ แสดงถึงความกตัญญู ความเคารพนบนอกต่อผู้ใหญ่ ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องจากผู้คนมักจะหลั่งไหลกันกลับบ้านเกิดของตนเองเพื่อไปเยี่ยม พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ซึ่งแต่ละบ้าน แต่ละจังหวัด แต่ละชุมชน ก็จะมีการจัดในลักษณะคล้ายๆ กัน หากเป็นหมู่บ้านจัดพิธี ก็อาจจะเชิญผู้ใหญ่ มารวมตัวกัน เพื่อให้ลูกหลานได้มารดน้ำดำหัวร่วมกันโดยพร้อมเพียง หรือหากบ้านไหนไม่สะดวกรวมญาติหรือติดภารกิจต่างๆ ก็อาจทำกันครอบครัวเล็กๆ ก็ได้เช่นกันความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเป็นประเพณีในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย คือระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี แต่ใหญ่จะกระทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ เพียงวันเดียวหรือวันเถลิงศก“รดน้ำดำหัว” มาจากคำว่า “ดำหัว” ที่เป็นภาษาเหนือแปลว่าการรดน้ำ โดยชาวล้านนาไทย “ดำหัว” จะหมายถึง "การสระผม" การชำระสะสาง สิ่งอัปมงคลออกไป ดังนั้นจำนำคำว่า ดำหัว มารวมกับคำว่า รดน้ำ เป็นคำว่า "รดน้ำดำหัว" เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่นั่นเอง ต่อมาก็นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกๆ ภาค วัตถุประสงค์ในการจัดประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่1. เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้สูงอายุ2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของประเพณีอันดีงาม3. เพื่อรักษาและสืบสานประเพณี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติให้คงอยู่สืบไป4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกันและเกิดความสนุกสนาน เช่น การรำวง หรือการเล่นดนตรีไทย5. เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ (บางสถานที่)การเตรียมอุปกรณ์ 1. ภาชนะใบใหญ่ ลอยดอกไม้ และน้ำอบ น้ำปรุง (หรือใครสะดวกใช้น้ำอบไทยเป็นขวดรดที่มือเลยก็ได้เช่นกัน)2. ขันหรือภาชนะใบเล็ก สำหรับรดน้ำที่มือ3. ผ้าขนหนู (ใช้สำหรับเช็ดเท้า หากมีการล้างเท้า และเช็ดหลังมีการรดน้ำที่มือเรียบร้อยแล้ว)4. พวงมาลัย (หากมีก็สามารถเตรียมไหว้ผู้ใหญ่ก็ได้)เครื่องรดน้ำดำหัววันสงกรานต์ ประเพณีรดน้ำดำหัว หัวใจสำคัญของการรดน้ำดำหัวก็คือ “น้ำ” ที่ใช้รดนั่นเอง ซึ่งแต่ละภาคเป็นน้ำที่ทำมาจากเครื่องหอมต่าง ๆ แม้ว่าน้ำจะ “หอม” เหมือนกัน ในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ภาคกลางใช้น้ำอบ น้ำปรุง โรยกับดอกมะลิ ดอกกุหลาบหรือดอกไม้อื่น ๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้าน ภาคเหนือใช้ดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และน้ำมะกรูดผสมลงไป ภาคใต้เป็นน้ำที่ได้มาจากกลิ่นของดอกไม้หลาย ๆ ชนิดมารวมกันในขันน้ำ ไม่จำกัดว่าจะมีกี่ชนิด เพราะภาคใต้ไม่มีเทคนิคในการทำเครื่องหอม ภาคอีสานเนื่องจากหน้าแล้ง ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมจะไม่มี จึงใช้ความหอมจากพืชตระกูลหัว เช่น ว่านหอม ว่านนางคำ ฝนรวมกันได้น้ำออกขุ่น ๆ มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของว่านหอมขั้นตอนการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่1. โดยมาจะให้สรงน้ำพระก่อน ณ จุดที่เตรียมไว้2. จัดเตรียมสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งสบายให้กับผู้ใหญ่ให้เพียงพอ3. จัดเตรียมน้ำ ภาชนะรองน้ำ ดอกไม้ ต่างๆ ให้พร้อม ก่อนผู้ใหญ่จะมาถึง4. เชิญผู้ใหญ่มานั่งที่จัดเตรียมไว้ให้ 5. ลูกหลาน หรือผู้น้อย ตักน้ำด้วยขันใบเล็ก แล้วค่อยรดน้ำลงบนมือผู้ใหญ่พร้อมกล่าวคำขอขมา (บางครอบครัวอาจจะมีการล้างเท้าให้ผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่แต่ละครอบครัว)คำขอขมาผู้สูงอายุวันสงกรานต์"กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส ที่ข้าพเจ้า(ชื่อ-นามสกุล) ประมาทพลาดพลั้งทำผิดมาในชาตินี้ ตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน(หากนึกเรื่องได้ เช่นเคยด่าว่าพ่อแม่ ขัดใจ เถียงท่านเป็นต้น ควรบอกให้หมด) ลูกได้สำนึกแล้ว ในกรรมนั้นขอให้คุณพ่อ และคุณแม่ อโหสิกรรมให้กับลูกทุกเรื่องนะคะ/นะครับ"และตอนท้ายของการกล่าว ให้คุณพ่อ คุณแม่พูดว่า "ขออโหสิกรรมให้กับลูกในทุกๆ เรื่อง"(ขอขมาผู้ใหญ่ท่านอื่น ก็เปลี่ยนชื่อผู้ที่เราจะขอขมาไป)กราบอนุโมทนาในบุญของท่าน มาด้วยความเคารพ ครับ/ค่ะ 6. ผู้ใหญ่ พนมมือเพื่อให้ผู้น้อยมารดน้ำที่มือ แล้วกล่าวคำให้พรกลับไป7. หลังรดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลายๆ ที่ผู้ใหญ่จะใส่เสื้อผ้าที่สบาย ผ้าถุง เสื้อคอกระเช้า ผ้าขาวม้า เพื่อให้ลูกหลานสามารถอาบน้ำให้ผู้ใหญ่หลังเสร็จพิธี 8. ช่วยเช็ด มือ เท้า เนื้อตัวของผู้ใหญ่ให้แห้งแล้วผลัดเปลี่ยนชุดใหม่ (หลายๆ ครอบครัวจะเตรียมเสื้อผ้าชุดใหม่มาให้ท่านเป็นของขวัญด้วย) ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ เพียงเท่านี้ ผู้ที่เราเคารพก็คงจะอิ่มเอมใจที่ได้พบปะลูกหลาน ญาติมิตรที่ยังคงคิดถึงกัน ได้พูดคุยกัน แม้ว่าหลายๆคนอาจจะมีโอกาสกลับไปเยี่ยมท่าเพียงปีละครั้ง เท่านี้ก็เป็นสุขใจ เติมพลังใจให้กับท่านแล้วหล่ะค่ะ หากชอบบทความนี้ก็อย่าลืมแชร์ไปให้คนที่เรารักได้อ่านกันนะคะภาพประกอบโดย ผู้เขียน WCKIWI เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !