รีเซต

คาถาชินบัญชร 9 จบ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แบบย่อ และแบบเต็ม สวดก่อนนอนเสริมมงคล

  • 09 กุมภาพันธ์ 2566
  • 138,419 15

     หนึ่งใน บทสวดมนต์ก่อนนอน ยอดนิยมก็คือ คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ซึ่งมีความหมายอันเป็นมงคลสูงยิ่ง มีพุทธคุณช่วยปกป้องคุ้มครองชีวิต และเสริมดวงชะตาให้ผู้สวดได้อีกด้วย  มีทั้ง คาถาชินบัญชรแบบย่อ และ คาถาชินบัญชร 9 จบ ที่นิยมสวดโดยเราสามารถเลือกสวดได้ตามความต้องการและความสะดวก TrueID Horoscope ได้รวบรวมคาถาชินบัญชรแบบต่างๆ มาให้แล้ว เซฟหรือ Bookmark หน้านี้ไว้สวดตามกันได้เลยค่ะ 

 

คาถาชินบัญชร 9 จบ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี 

 

คาถาชินบัญชร 9 จบ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

dreamloveyou / Shutterstock

 

คาถาชินบัญชร มีพุทธคุณด้านไหน มีพลังและอานุภาพอย่างไร 

     การเริ่มต้นสวด คาถาชินบัญชร นั้น จริงๆแล้วเราสามารถเริ่มตอนไหนก็ได้ แต่ถ้ายึดกันตามธรรมเนียมแต่เดิมนั้น สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ค่ะ

  1. เริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครู
  2. เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ
  3. จุดธูป 3, 5 หรือ 9 ดอก พร้อมเทียน 2 เล่ม
  4. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเริ่มต้นสวดดังนี้

 

เสียงสวด คาถาชินบัญชร 9 จบ

 


คาถาชินบัญชร สวดอย่างไร

 

ตั้งนะโมฯ 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

 

นึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์โตแล้วเริ่มสวดชินบัญชร


คาถาชินบัญชร แบบย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนาอย่างน้อย 3 จบ หรือภาวนาบ่อยๆ เป็นกรรมฐาน)

 

คาถาชินบัญชร แบบเต็ม

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว


กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

 

คาถาชินบัญชร คำแปล และความหมาย

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

 

ประวัติ ที่มา ของ คาถาชินบัญชร 


     คาถาชินบัญชร เป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญมายาวนาน ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 2 จวบจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นบทสวดมนต์ที่ชาวไทยนิยมสวดเป็นประจำ ด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล และพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระคาถาชินบัญชรนั่นเอง

     แม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งคาถาชินบัญชร และมีหลายคนเข้าใจว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นผู้แต่ง แต่ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ระบุไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นผู้ปรับบทสวดจากเดิมที่มีอยู่แล้ว มิได้เป็นผู้แต่งคนแรก

     โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง พร้อมรับสั่งว่าไพเราะและตรัสถาม “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้”

 

ความหมายของ คาถาชินบัญชร


     คำว่า ชินบัญชร นั้นมาจากภาษาบาลี  คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ ความหมายโดยรวมของ คาถาชินบัญชร จึงแปลได้ว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า ซึ่งเนื้อหาในคาถาในชินบัญชรเป็นการสวดอัญเชิญพระพุทธเจ้า จำนวน 28 พระองค์เสด็จมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เปรียบเสมือนการอาราธนาพุทธคุณเป็นเกราะปกป้องคุ้มกันภัย และเสริมสิริมงคลนานาประการให้แก่ผู้สวดบูชานั่นเอง

     จากนั้นจึงเป็นบทสวดอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ ผู้เลิศด้วยบารมีในด้านต่างๆ และอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในแต่ละด้าน มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มครอง 7 ชั้น รอบตัวในทุกทิศ จนไม่มีช่องว่างที่อันตรายจะเล็ดลอดเข้ามาได้

 

พุทธคุณ พลังและอานุภาพของ คาถาชินบัญชร


     คาถาชินบัญชร นี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก คำโบราณได้เปรียบได้ว่า ฝอยท่วมหลังช้าง หมายถึง มากมากจนสุดที่จะประมาณได้หมด เพราะทั้งช่วยปกป้องคุ้มครอง ปัดเป่าเคราะห์ร้ายโรคภัยนานา เสริมสิริมงคล เสริมเมตตามหานิยมและโชคลาภ ช่วยขจัดภัยจากคุณไสยและภูติผีปีศาจ หากผู้ใดสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร เป็นประจำ ไม่ว่าจะแบบเต็มหรือแบบย่อ ก็เชื่อว่าสามารถช่วยให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง และคลาดแคล้วจากภัยนานาประการได้ ควรหมั่นสวดเป็นประจำเทอญ

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

รวมบทสวดมนต์ก่อนนอน พร้อมบทแผ่เมตตา สวดทุกคืน ชีวิตดีขึ้นแน่นอน!

บทสวดมนต์ก่อนนอน แบบสั้น พร้อมคำแปล สวดง่ายๆ แค่วันละ 5 นาที ชีวิตเปลี่ยน! (มีคลิป)

บทแผ่เมตตา แบบเต็มและแบบย่อ พร้อมคำแปล เสริมพลังด้านบวก สวดทุกวันชีวิตดี

รวมบทสวดมนต์ สุดยอดพระคาถาเสริมดวงการเงิน มีโชคลาภไม่ขาดมือ (มีคลิป)

 

รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

บทสวดมนต์ ตอนเช้า

 

บทสวดมนต์ ก่อนนอน

 

รวมบทสวดมนต์ต่างๆ

รวม บทแผ่เมตตา

 

รวมคาถา เสริมดวง

 

รวมคาถา บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์