รีเซต

วันออกพรรษา 2565 วันอะไร มีความสำคัญ หลักปฏิบัติ และกิจกรรมงานบุญอะไร ในวันออกพรรษา

  • 10 ตุลาคม 2565
  • 3,844

     อีกหนึ่งวันสำคัญคือ วันออกพรรษา 2565 นี้  ตรงกับ วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2565 หรือตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นอกจาก ประวัติวันออกพรรษา ที่น่ารู้แล้ว การตักบาตรเทโว และการทำบุญกุศลต่างๆ ในช่วงวันออกพรรษาจะมีอะไรบ้าง TrueID Horoscope ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ 

 

วันออกพรรษา 2565 มีความสำคัญอย่างไร

     วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา หลังจากเข้าพรรษาและพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝนครบ 3 เดือน เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็จะคือเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะออกพรรษา  ซึ่งวันออกพรรษานี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันปวารณา (อ่านว่า ปะ-วา-ระ-นา) หรือวันมหาปวารณา คือ วันที่เปิดโอกาสให้เหล่าพระภิกษุ ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต รวมถึงได้ซักถามกันในสิ่งที่สงสัยด้วย

 

คําปวารณาออกพรรษา

สังฆัมภันเต ปะวาเรมิทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา
ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ

ทุติยัมปิภันเต สังฆัง ปะวาเรมิทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา
ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ

ตะติยัมปิภันเต สังฆัง ปะวาเรมิทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา
ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิฯ

(ความหมาย)

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี...

 

คำขอขมาโทษพระเถระ

แบบทั่วไปที่แก้ไขใช้อยู่ในปัจจุบัน

(ผู้ขอ) เถเร ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต (ถ้าขอหลายรูปให้เปลี่ยน "ขะมะถะ เม" เป็น "ขะมะตุ โน")

(ผู้รับ) อะหัง ขะมามิ ตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง (ถ้าผู้ขอมีหลายรูปให้เปลี่ยน "ตะยาปิ" เป็น "ตุมเหหิปิ")

(ผู้ขอ) ขะมามิ ภันเต (ถ้าผู้ขอมีหลายรูปให้เปลี่ยน "มิ" เป็น "มะ")

 

แบบพิเศษ นิยมใช้ถวายพระมหาเถระ

(ผู้ขอ) อัจจะโย มัง ภันเต อัจจัคคะมา ยะถาพาลัง ยะถามูฬหัง
ยะถาอะกุสะลัง โยหัง ภันเต กะทาจิ กะระหะจิ ปะมาทัง
วา อาคัมมะ อะโยนิโสมะนะสิการัง วา อาคัมมะ มะหาเถเร
อะคาระวัง อะกาสิง กาเยนะ วา วาจายะ วา มะนะสา วา
สัมมุขาปิ ปะรัมมุขาปิ ตัสสะ เม ภันเต มะหาเถโร อัจจะยัง
อัจจะยะโต ปะฏิคคัณหาตุ อายะติง สังวะรายะ

(ผู้รับ) ตัคฆะ ตัง อาวุโส อัจจะโย อัจจัคคะมา ยะถาพาลัง
ยะถามูฬหัง ยะถาอะกุสะลัง โย ตะวัง กะทาจิ กะระหะจิ
ปะมาทัง วา อาคัมมะ อะโยนิโสมะนะสิการัง วา อาคัมมะ
มะยิ อะคาระวัง อะกาสิ กาเยนะ วา วาจายะ วา มะนะสา
วา สัมมุขาปิ ปะรัมมุขาปิ ยะโต จะ โข ตะวัง
อัจจะยัง อัจจะยะโต ทิสวา ยะถาธัมมัง ปะฏิกกะโรสิ
อายะติง สังวะรัง อาปัชชะสิ ตัง เต ปะฏิคคัณหามิ
วุฑติ เหสา อาวุโส อะริยัสสะ วินะเย โย อัจจะยัง
อัจจะยะโต ทิสวา ยะถาธัมมัง ปะฏิกกะโรติ อายะติง
สังวะรัง อาปัชชะติ

(คำอวยพรของผู้รับ) ยัง ยัง ปุญญัง มะยา กะตัง อุปะจิตัง
กาเยนะ วา วาจายะ วา มะนะสา วา ตัง ตัง อายัสมะโต
อาทิสสามิ สาธายัสมา อัสมิง อัสมิง ปุญเญ ปัตติโต
หุตวา อะนุโมทะตุ เตนะ อะนุโมทะนามะเยนะปิ ปุญเญนะ
สุขิโต โหตุ อะโรโค นิรุปัททะโว จิรัง ทีฆะมัทธานัง
อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย วุฑฒิง วิรุฬหิง
เวปุลลัง อาปัชชะตุ

(ผู้ขอ) สาธุ ภันเต

 

ที่มาของวันปวารณา หรือวันมหาปวารณา

     ในสมัยพุทธกาล มีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง คือเมื่อถึงเวลาออกพรรษา เหล่าพระภิกษุทั้งหลายก็จะพากันเดินทางมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะไปจำพรรษาในสถานที่ไกลแค่ไหนก็ตาม และพระพุทธองค์ก็จะตรัสถามพระภิกษุเหล่านั้นว่าได้ประพฤติปฏิบัติอย่างไรบ้างในช่วงเข้าพรรษา

    พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติให้ทำพิธีปวารณา แทนการทำพิธีอุโบสถสังฆกรรม ในช่วงเวลาเข้าพรรษา เพื่อให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยเหตุ 3 ประการคือ

    1. โดยเห็น
    2. โดยได้ยิน ได้ฟัง
    3. โดยสงสัย

     ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีโอกาสได้ทบทวนความประพฤติ ยอมรับ แก้ไข สร้างความสมัครสมานสามัคคี และเป็นการคงไว้ซึ่งความถูกต้องตามหลักพระพธรรมวินัยนั่นเอง

 

ที่มาของ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก และการตักบาตรเทโวโรหณะ

    นอกจากนี้ยังมีอีกเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นก็คือ หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรม "พระอภิธรรมปิฎก” โปรดพระพุทธมารดาจนบุุลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน) และก็เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้น เมื่อโลกทั้งสามเปิดออกให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นกันและกัน จึงเรียกวันนี้ว่า "วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก" 

 

กิจกรรมในวันออกพรรษา

    และเมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าว ก็ต่างพากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทำบุญตักบาตร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีตักบาตรเทโวโร ซึ่งมาจากคำว่า เทโวโรหณะ ที่แปลว่า "หยั่งลงมาจากเทวโลก" นั่นเอง (คลิกอ่าน ตักบาตรเทโว คืออะไรทำไมต้องทำหลังออกพรรษา) ซึ่งประเพณียังคงสืบทอดต่อกันมาในปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจะพากันเข้าวัด ตักบาตร และที่ขาดไม่ได้คือการนำข้าวต้มมัดและข้าวต้มลูกโยนมาใส่บาตรด้วย 

    และในช่วงออกพรรษานี้ ก็ยังตรงกับช่วง "กฐินกาล" ตามพระวินัยปิฎกเถรวาท จึงมีการทำบุญกฐิน ถือศีล ฟังธรรมในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน หลายๆ คนก็ถือโอกาสเที่ยววัด ไหว้พระขอพรกันในช่วงนี้เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต ถือเป็นช่วงสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งในแง่ของศาสนา และในแง่ของวัฒนธรรมประเพณีเลยทีเดียว

 

บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา ที่คุณอาจสนใจ

ประวัติวันออกพรรษา วันปวารณา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

บทสวดมนต์ ตอนเช้า

 

บทสวดมนต์ ก่อนนอน

 

รวมบทสวดมนต์ต่างๆ

รวม บทแผ่เมตตา

 

รวมคาถา เสริมดวง

 

รวมคาถา บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์