บุญข้าวจี่ บุญประเพณีสำคัญของพี่น้องชาวอีสาน ที่เป็นจารีตข้อปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานตามหลัก ฮีต 12 คอง 14 ซึ่งบุญข้าวจี่นั้น ส่วนใหญ่จะนิยมจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 หลังจากวันมาฆบูชาเพียง 1 วันนั่นเอง เพราะฉะนั้น วันมาฆบูชานอกจากจะเป็นวันสำคัญแล้ว ยังเปรียบเสมือนวันที่เป็นตัวกำหนดวันทำบุญข้าวจี่อีกด้วย (หากเป็นปีอธิกมาสคือปีที่มีเดือน 8 สองหน การกำหนดวันอาจจะเปลี่ยนไป) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ในแต่ละพื้นที่อาจมีวิธีการกำหนดวันที่แตกต่างกัน แต่ก็จะอยู่ในเดือน 3 ตามจารีตที่ปราชญ์โบราณอีสานมักบอกว่า เดือนสามบุญข้าวจี่ เดือนสี่ บุญผะเหวด เป็นต้น วันนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักบุญข้าวจี่ ผ่านประสบการณ์ที่เคยได้ร่วมงานนี้แทบทุกปีรู้จักข้าวจี่ คำว่าจี่ เป็นคำกริยา หมายถึง ปิ้ง หรือ ย่าง ฉะนั้นข้าวจี่ จึงหมายถึง ข้าวเหนียวที่นำมาปั้น ซึ่งไม่ได้กำหนดรูปทรงที่ชัดเจน จะเป็นก้อนกลม ก้อนรี ก้อนเหลี่ยม ก็ได้สุดแล้วแต่จะประสงค์ นำข้าวเหนียวที่ปั้นแล้วไปย่างด้วยถ่าน ไฟอ่อนๆ จนกลายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมน่ากิน หรือบางสูตรก่อนนำไปย่างก็จะโรยด้วยเกลือก่อนบ้าง ใส่น้ำอ้อยบ้าง อาจจะทาข้าวจี่ด้วยไข่ไก่ที่ปรุงรสตามชอบบ้างอุโบสถวัดประสิทธิ์ธรรมสารต้นกำเนิดของบุญข้าวจี่ ขอเล่าโดยสรุปสิ่งที่ผู้เขียนได้ฟังเทศน์จากพระอาจารย์วัดประสิทธิ์ธรรมสาร อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ที่มาคือ ในสมัยพุทธกาล มีหญิงทาสี สาวใช้ของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ชื่อว่า ปุณณทาสี มีหน้าที่ตำข้าว โดยปกตินางจะเอารำข้าวมาคลุกน้ำ แล้วปั้นเป็นก้อนๆ นำไปย่าง เก็บไว้กินเป็นขนม ในขณะที่จะเดินทางไปท่าน้ำ ระหว่างทางได้พบพระพุทธเจ้า จึงได้ถวายขนมนั้นแด่พระพุทธองค์ เมื่อถึงสถานที่อันสมควรพระอานนท์ได้ปูลาดอาสนะจัดที่ฉัน จากนั้นพระพุทธองค์เสวยขนมที่นางปุณณทาสีถวาย หลังจากนั้นก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดนาง พอจบพระธรรมเทศนา นางก็ได้บรรลุโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาขนมที่นิยมนำไปถวายพระในประเพณีบุญข้าวจี่ นอกจากจะนำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัดแล้ว ขนมอีกชนิดที่นิยมนำไปทำบุญในวันนั้นคือ ข้าวเกียบ หรือ ข้าวโป่ง (แต่ละสถานที่อาจเรียกไม่หมือนกัน อาจจะมีชื่ออื่นๆ อีก) เป็นขนมที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ รสชาติ หวาน มีความกรอบอร่อย (ถ้าปล่อยให้ถูกอากาศนานๆ ความกรอบจะหมดไป ต้องใส่ถุงพลาสติกและไม่ให้อากาศเข้า) กลิ่น มีกลิ่นหอมของข้าว ส่วนสี มีหลากหลายสี แต่สีที่เป็นที่นิยมที่ผู้เขียนเห็นมาตั้งแต่สมัยเด็กคือ สีขาวแบบดั้งเดิมประโยชน์จากการไปร่วมงานประเพณีบุญข้าวจี่ คือพุทธศาสนิกชนได้ทำบุญให้ทาน สมาทานศีล และทำใจให้สุข สงบร่มเย็น ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ (หลักธรรมสำคัญจากวันมาฆบูชา) อันเป็นหลักคำสอนที่กล่าวได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาคือ "ละชั่วทุกอย่าง สร้างแต่ความดี มีใจผ่องใส" ทั้งได้สืบสานประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษได้พาบำเพ็ญให้เป็นไป ทำให้ได้ระลึกถึงความสุขสมัยวัยเยาว์ที่ได้ไปทำบุญข้าวจี่กับพ่อแม่และญาติมิตรสรุป ประเพณีบุญข้าวจี่ เป็นบุญที่จัดขึ้นในเดือน 3 ตามหลักฮีต (จารีต) ที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งเชื่อว่า มีปฐมเหตุความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลอันมีนางปุณณทาสีเป็นปฐมบุคคลที่ถวายเป็นคนแรก ที่สำคัญการไปทำบุญข้าวจี่ ก็ถือว่าได้ปฏิบัติตามหลักหลักโอวาทปาฏิโมกข์คือ ละชั่ว ทำดี มีใจผ่องใสอีกด้วย ภาพทั้งหมดโดยผู้เขียนบทความพิกัด วัดประสิทธิ์ธรรมสารบทความอื่นๆ ของผู้เขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาเยือนวัดเวฬุวัน สถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นวันมาฆบูชา ประเทศอินเดียวัดไทยพุทธคยา วัดไทยแห่งแรกในแดนพุทธภูมิ เยี่ยมชมโรงพยาบาลพระพุทธเจ้า (รักษาฟรี)เยือนเมืองเวสาลี (อินเดีย) จุดกำเนิดน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมชมเสาอโศก ที่ยังคงตั้งตระหง่าน เหนือกาลเวลา สองพันกว่าปีไหว้พระ พร้อมชมพญานาคที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน วัดเมตตาพุทธาราม พุทธคยา อินเดียตามรอย พุทธทาสภิกขุ ครูแห่งจิตวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ (Teachers' day) ณ วัดธารน้ำไหลหรือสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีพาชมวัดพุทธนานาชาติในพุทธคยา ประเทศอินเดีย7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์