บุญประเพณีสารทเดือนสิบ ภาคอีสานเรียก "บุญข้าวสาก" ภาคเหนือเรียก "ตานก๋วยสลาก" ภาคใต้เรียก "ประเพณีชิงเปรต"...เป็นวันที่ทำบุญใหญ่ส่งถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี...สำหรับปี 2566 นี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ค่ะบุญข้าวสากคืออะไร?งานบุญประเพณีสารทเดือนสิบของแต่ละวัด - แต่ละภูมิภาค ถึงแม้จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป และปัจจุบันมีการลดขั้นตอนลงมาจากสมัยก่อน เพราะยุคสมัยและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป...แต่ประเด็นสำคัญก็ยังคงอยู่ คือการทำพิธีถวายภัตตาหารเช้าพร้อมทั้งปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์ที่วัด...ตามประเพณีที่มีมาแต่พุทธกาลจะมีการทำ "ฉลากภัต" หรือ "สลากภัต" เพื่อจับว่าโยมจะได้ถวายของแก่พระเณรรูปไหน...คำว่า "สาก" ก็เพี้ยนมาจาก สลากหรือฉลาก นั่นเองค่ะการทำพิธีอุทิศอาหารและบุญกุศลแด่บรรพบุรุษและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ โดยเขียนชื่อบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง ผู้นั้น ๆ เฉพาะเจาะจงเลย แล้วพระท่านจะสวดบังสุกุลอุทิศบุญกุศลให้ค่ะการนำห่อข้าวที่เตรียมไว้เป็นการเฉพาะ ไปเปิดวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ในวัด เหมือนเตรียมให้วิญญาณท่านเหล่านั้นมากินค่ะทำไมต้องทำบุญข้าวสาก - สารทเดือนสิบ?บางท่านอาจจะคิดถามว่า "ทำบุญใส่บาตรวันอื่น ๆ ก็สามารถส่งกุศลผลบุญไปให้ยังผู้ล่วงลับได้เหมือนกันไม่ใช่หรือ เหตุใดจึงเฉพาะเจาะจงทำบุญพิเศษในวันนี้?"...ก็จริงส่วนหนึ่งค่ะ เราทำบุญเมื่อไหร่ก็อุทิศไปถึงผู้ล่วงลับได้ ถ้าเขาไม่ใช่ดวงวิญญาณลำบาก - มีบาปหนักอยู่ในทุคติภูมิ ที่ต้องทนรับกรรมจนบุญอะไรก็ส่งไม่ถึงค่ะ...ผู้เขียนได้ทราบความพิเศษของวันบุญข้าวสากหรือสารทเดือนสิบ จากที่พระท่านเทศน์ ว่า 24 ชั่วโมงบนโลกมนุษย์ของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ดวงวิญญาณในภพภูมิที่ลำบาก (อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก) ที่ถูกปิดกั้นไม่ให้ได้รับรู้เรื่องผลบุญกุศลที่มีคนอุทิศให้ จะได้รับอนุญาตให้มารอรับบุญกุศลได้โดยตรงจากลูกหลาน - ญาติพี่น้องค่ะ...วันนี้ จึงเป็นวันที่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ พลาดไม่ได้ที่จะสร้างบุญกุศลอุทิศแด่บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง และผู้มีพระคุณ ที่อาจกำลังรอคอยบุญไปช่วยเหลืออยู่ค่ะทำบุญข้าวสากทำอย่างไรบ้าง?บุญข้าวสาก เป็นบุญใหญ่ บุญกิริยาในวันนี้มีทั้ง ทาน ศีล ภาวนา - สาธยายมนต์ อ่อนน้อม ช่วยสืบสานประเพณี - ต่ออายุพระศาสนา อุทิศบุญกุศล โมทนาบุญ ฟังธรรม และพิจารณาโลกตามพระสัทธรรมความจริง...แต่บุญจัดหนักจัดเต็มแบบนี้ ทำได้ไม่ยากอะไรเลย เพียงแค่เรามีศรัทธาและฉันทะที่จะสละเวลาสักเล็กน้อยเท่านั้น...ผู้เขียนขอแชร์ขั้นตอนการทำบุญข้าวสากตั้งแต่การเตรียมข้าวของจนถึงพิธีกรรมแบบคร่าว ๆ ไว้ดังนี้ค่ะ1. สิ่งที่ต้องจัดเตรียมไว้ก่อนวันงานเครื่องไทยทานสำหรับถวายพระสงฆ์ เช่น พระพุทธรูป ผ้าไตร ของใช้ ยา เป็นต้นของถวายเป็นภัตตาหารเช้าห่อข้าว (นำของคาวของหวาน ข้าวกระยาสารท (ตามความเชื่อ เป็นของกินมงคล) ผลไม้ บุหรี่ หมากพลู ใส่ในห่อใบตองเดียวกัน) และน้ำธูป เทียน ไม้ขีด/ไฟแช็กชื่อ - นามสกุล บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง ที่ต้องการอุทิศอาหารและบุญให้2. ขั้นตอนพิธีกรรมทำพิธีถวายภัตตาหารเช้าและเครื่องไทยทาน พร้อมบังสุกุลอุทิศบุญกุศลแต่ดวงวิญญาณผู้ที่เราต้องการอุทิศให้ (นำชื่อส่งร่วมพิธี)หลังพระฉันภัตตาหารเสร็จ ทำพิธีอุทิศบุญกุศลและอาหาร (นำห่อข้าวไปทำพิธี) แด่วิญญาณบรรพบุรุษ - ญาติพี่น้องนำห่อข้าวไปวางใต้ต้นไม้ในวัด จุดธูปเทียนบอกดวงวิญญาณกรวดน้ำอุทิศบุญกุศล แด่ดวงวิญญาณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์เท่าที่ผู้เขียนฟังเทศน์มาในแต่ละที่ ๆ พระท่านมักจะเรียกวันทำบุญข้าวสากว่า "วันแห่งความกตัญญู" ค่ะ...เพราะการที่เราตั้งใจสละปัจจัยรวบรวมข้าวของ ออกจากบ้านแต่เช้า ไปทำการบุญการกุศลนี้ นับเป็นการระลึกถึงและตอบแทนบุญคุณแก่บรรพบุรุษและผู้มีพระคุณของเรา...บุญอันเป็นความดีและนำพาความสุขมาให้แบบนี้แหละค่ะ ที่สายมูอย่างเราไม่ควรพลาด ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก" ค่ะผู้เขียนมีโอกาสได้ฟังกลอนสรภัญญะ ในเทศกาลบุญข้าวสาก...เพลงนี้มีหลายเวอร์ชั่น ขึ้นอยู่กับคนร้องและท้องที่ แต่ใจความคล้าย ๆ กันคือ พรรณนาถึงความเสียใจของวิญญาณแม่ ที่ลูกไม่ไปวัดทำบุญข้าวสากให้..."โอ่ โอ้ โอ ลูกเอย อย่าละเลยการทำทาน วันนี้ยมบาล ท่านประทานปล่อยแม่มา...เพื่อมารับกองบุญ บุญครั้งนี้ใหญ่หนักหนา ลูกเอยจงทำทาน การทำบุญอย่าละเลย...ตั้งแต่เจ้าเพิ่งเกิด แสนประเสริฐแม่ดีใจ กล่อมเกลี้ยงแต่เยาว์วัย จนเติบใหญ่ได้เป็นนาย...คอยลูกหญิงและชาย เจ้าช่างหายไม่เหลียวแล แม่หมดหวังเด้อลูกแก้ว แม่ลาแล้วสิต่าวคืน...จำเป็นอันได๋แท้ บ่เหลียวแลวิญญาณแม่ แม่มารอแต่เช้า จนเที่ยงบ่ายบ่เห็นกาย...เห็นแต่คนทั้งหลาย เขามายาย ("ยาย" ภาษาอีสานแปลว่า วางให้เรียงห่างออกไปเป็นระยะ) ห่อข้าวน้อย คอยเจ้าบ่เห็นมา จนน้ำตาแม่ไหลริน...เพื่อนได้เต็มกะต่า ("กะต่า" ภาษาอีสานแปลว่า ตระกร้า) แม่นี้หนาไม่มีเลย ลูกเอ๋ยไม่แทนคุณ บุญที่แม่เลี้ยงเจ้ามา...ไม่ทดแทนคุณบิดา และมารดาของเจ้าเลย ข้าวปั้นเพียงเล็กน้อย น้อยนิดเดียวก็ไม่ทำ...ลูกเอ๋ยไม่ทำทาน ไม่สงสารวิญญาณแม่ บ้านเรือนแม่อยู่ไกล แม่เดินไปยังไม่ถึง...หิวน้ำและหิวข้าว ขอให้เจ้าจงทำทาน แก่สงฆ์ผู้เบิกบาน ดวงวิญญาณก็จะได้...จำไว้นะลูกหนา อย่าละเลยการทำทาน อย่าเกียจคร้านการบุญ อย่าละคุณพ่อแม่เอย...ลูกเอ๋ยลูกแม่หนา แม่คอยเจ้าทุกเวลา ลูกจ๋าแม่ลาก่อน ขออวยพรให้โชคดี"เพลงมีเนื้อหาเศร้า จนคนร้องและคนฟังเพลงต่างก็ร้องไห้ไปด้วยกัน...แถมพระท่านก็เทศน์สำทับ เรื่องการทำบุญแด่วิญญาณบรรพบุรุษและญาติพี่น้องผู้มีพระคุณเป็นสิ่งไม่พึงละเลย ทั้งยังเป็นการสะสมบุญแก่ตนเองด้วย...ก็ยิ่งทำให้ผู้เขียนตั้งใจว่า จะไม่พลาดทำบุญข้าวสากนี้เลยสักปี และจะขอทำแบบดี ๆ แบบจัดหนักจัดเต็มด้วยค่ะ.มรรษยวรินทร์(ภาพประกอบทั้งหมด โดย มรรษยวรินทร์)เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !