ใจคนเรายากแท้จะหยั่งถึง ไร้ที่พึ่งเป็นที่พาวาจาสอน ตัดสินใจเข้าหาธรรมนำสัญจร ให้เฝ้าสอนคิดพินิจปิดวาจา ถึงการยืน เดิน นั่ง จนถึงนอน เป็นการนอนพักผ่อนจิตคิดตามรู้ ในประเทศไทยให้อิสระในการนับถือศาสนา เราสามารถนับถือศาสนาอะไรก็ได้ ขอเพียงแต่เรานั้นมีความสุขในการดำเนินชีวิต เพราะถ้าหากเราเดินทางไปต่างประเทศจะมีโอกาสได้พบกับคนที่ ไม่นับถือศาสนาอะไร แต่สำหรับเราคือ ศาสนาพุทธ สิ่งที่อยู่ในใบเกิดของเรามาตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก แต่ใครที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้และรู้จัก ในรูปแบบของพฤตินัย การกระทำคำถามที่มีเสมอเมื่ออ่านใบเกิด ศาสนาพุทธ ทำอย่างไรเราถึงจะเป็นศาสนาพุทธอย่างเต็มตัว ? ประสบการณ์ หรืออาจจะเป็นเพราะบุญธรรมกรรมแต่ง ทำให้เราได้มาพบคนที่หวังดีกับเรา และแนะนำให้เราสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งโครงการ ซึ่งต้องคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดเข้าอบรม ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรมากเพราะเราเองยังอายุน้อย อะไรที่เรามีความสุขเราก็ทำตัดสินใจเริ่มในการเขียนเรียงความ จนได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ และเป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักกับ สมถะกรรมฐาน เป็นครั้งแรกและต่อยอดที่สูงขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้ในโลกทางธรรม มันคือความสุข การรู้จักตัวเอง เรียนรู้ตนเอง การกำหนดอิริยาบถของเราทั้งหมดอย่างละเอียด ครั้งแรกคือการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน นั่นคือการนั่งสมาธิและรับรู้ในร่างกายของเรา ทำจิตใจให้สงบ เป็นสมาธิโดยที่เรานั้นจะเพ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นคือลมหายใจเข้าออก วันแรกของการปฏิบัตินั้น การนั่งสมาธิห้านาที เหมือนทั้งโลกจะระเบิด การนับลมหายใจเข้ากำหนดพุทธ หายใจออกกำหนดโท จิตใจของเราทั้งหมดนั้นอยู่กับลมหายใจ โดยในขณะที่เรานั้นหลับตา เราจะดูลมของเรา ในขณะที่เข้านั้นไหลผ่านอะไรไปบ้าง อยู่กับลมหายใจอย่างนั้นไปตลอด ซึ่งการปฏิบัติสมถะกรรมฐานนั้นจะทำให้เรามีนิสิตขึ้นเมื่อจิตใจของเรานั้นเป็นสมาธิ มีอย่างนั้นมาให้เห็นบ้าง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะต้องกำหนด และกลับมาอยู่กับลมหายใจให้ได้ แต่จะต่างจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนาคือการต่อยอดจากสมถะ เมื่อจิตที่แกร่งแข็งแรงขึ้น จะต่อยอดในการวิปัสสนากรรมฐาน คือการกำหนดอิริยาบถย่อย ละเอียดมากขึ้น การกำหนดรู้กับสิ่งที่มากระทบทวารทั้งหมดของเรา เราจะกำหนดรู้ทั้งหมด เช่น ได้กลิ่นเราจะไม่ถามว่ามันคือกลิ่นอะไรแต่เราจะต้องบอกว่า รู้หนอและกลับมาที่ลมหายใจ อิริยาบถจากนั้นความละเอียดเพิ่มมากขึ้น ทุกอิริยาบถเรากำหนดรู้ทั้งหมด ก่อนการเคลื่อนไหวในทุกอย่างเราจะต้องกำหนดรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเวลาของเราไม่ได้มีอยู่บนโลกใบนี้มากมายนัก อย่าให้เวลาทุกนาทีหมดไปกับการเผลอหรือสติหลุดไป การวิปัสสนากรรมฐาน จะต่อยอดจากการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน แต่วิปัสสนากรรมฐานจะลึกซึ้งมากกว่าในการเจียระไนจิตใจ อย่างเช่นยกตัวอย่างว่า เราทานส้มตำ สมถะจะอธิบายแค่ว่านี่คือส้มตำนะมีอะไรบ้าง แต่ถ้าวิปัสสนาจะต้องบอกว่าแต่ละอย่างนั้น วิธีการปลูก รสชาติ ประโยชน์ในการทานมีอะไรบ้าง ความละเอียดจะลึก สิ่งเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่และภูมิใจมากเมื่อไหร่ที่เรานั้นทำได้ การวิปัสสนา นอกจากที่เรากำหนดอิริยาบถย่อยทุกการเคลื่อนไหวแล้ว เราจะต้องอยู่กับตนเอง ปิดวาจา ไม่พูดคุยไม่สบตาพาทีกับใคร ในการเดินจะเดินอย่างสำรวมสายตา ไม่มองคนอื่นมองเพียงทางที่เราจะเดินห่างไปประมาณสามก้าว จะทำอะไรเรากำหนดก่อน ตัวอย่าง เราต้องการจะเปิดประตูตู เรากำหนดในใจว่า อยากเปิดประตู สามรอบจากนั้น เรากำหนดยกมือของเราไปจับปิด และหลังจากนั้นก็กำหนดต่อไปเรื่อยๆ กำหนดตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ รู้ในทุกขณะจิตของลมหายใจ เราต้องรับรู้ละเอียดถึงตอนที่เราตื่นนอนเราตื่นนอนรู้สึกตัวขึ้นมาด้วยลมหายใจเข้าหรือออก และเราหลับโดยลมหายใจเข้าหรือออก ในหนึ่งวันเราหายใจเข้ากี่ครั้งหายใจออกกี่ครั้ง ซึ้งเราจะเห็นได้ว่าในชีวิตของเราโดยแท้ไม่มีใครที่อยู่กับเราได้ตลอดนอกจากตัวเอง สิ่งที่มากระทบเรา เรารับรู้กำหนดจากนั้นก็วางไว้ ทุกสิ่งทุกอย่างทุกการเคลื่อนไหวมันคือสติของการรับรู้ การนั่งสมาธิ วิธีกำหนดตามแบบวิปัสสนากรรมฐาน ตอนแรกนั้นเราอยู่ในอิริยาบถของการยืน เราเริ่มกำหนดว่าอยากนั่งหนอ สามครั้งโดยกำหนดตามคำว่าอยาก จากตรงกลางศรีษะลงมาถึงเอวกำหนดคำว่าอยากนั่ง จากนั้นคำว่าหนอคือจากเอวลงมาถึงปลายเท้า สลับกันขึ้นลงสามรอบ ช้าๆ จนสุดลมหายใจ จากนั้นเราเริ่มกำหนดยกขาไปวางด้านหลัง แล้วย่อลงสามจังหวะเมื่อถึงการกำหนดว่าถึงหนอ จากนั้นยกไปวาง ยกมือไปเท้าแล้วกำหนดนั่งลงสามครั้งจนถีงบอกถึงหนอ ยกขามายกมาวาง ยกมาวาง ทั้งสองข้างอยู่ในท่า ขัดสมาธิ จากนั้นยกมือทั้งสองมาวางตรงเข่าทั้งสองข้าง กำหนดสามครั้งเหมือนกัน จากนั้นกำหนดมาวางหน้าตักกำหนดยืดตัวขึ้น ค่อยๆหลับตาลง กำหนดสมาธิด้วยลมหายใจเข้าออก ถ้ามีสิ่งภายนอกมากกระทบให้กำหนดรู้หนอสามครั้งแล้วกลับมาอยู่ที่เดิมกำหนด ถ้าหากเราเห็นอะไรให้กำหนดรู้หนอเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนท่านั่งห้ามกระดุกกระดิก และเมื่อครบกำหนดคลายจากสมาธิแล้วบริหารเพื่อความไม่เจ็บปวด การเดินจงกรม 7 ระยะ ในการวิปัสสนากรรมฐานนี้ใช้ระยะเวลา 7 คืน 8 วัน ในวันแรกจะเดินจงกรมในระยะที่หนึ่ง การเดินจงกรมจะเป็นการเดินให้ช้าลง เราจะเห็นการเคลื่อนไหวของการเดินของเราว่ามีอยู่ด้วยกันเจ็ดระยะ เริ่มด้วยระยะแรก คือ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ จนไปถึงระยะที่ 7 คือ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถึงหนอ กดหนอ และรับรู้ว่าอ่อนนุ่ม เย็นแข็ง ถ้าเราสังเกตการเดินของเรา จะเห็นการเคลื่อนไหว การฝึกแล้วจะทำให้เราเป็นคนที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ทุกอย่างที่เราจะทำนั้นจะให้บอกจิตก่อนสามรอบจึงเริ่มทำ ซึ่งในการปฏิบัติมาแล้วหลายรอบนั้นทำให้เรารู้การเปลี่ยนแปลงปรับตัวของร่างกายเรา เราจะต้องต่อสู้กับความลำบากความทรมานเพราะร่างกายเราพยายามต่อต้านแต่เมื่อเราอยู่ครบสามวัน วันที่สี่เราจะรู้สึกสบายและไม่กังวลเหมือนวันแรกที่ผ่านมา สิ่งที่ชอบมากที่สุดในการปฏิบัติคือ การสอบอารมณ์ หลังจากที่เรางดพูดมาสามวัน จะเป็นชั่วโมงที่เปิดโอกาสให้เราได้พูดและสอบถามในเรื่องของการปฏิบัติ และยังได้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดจากคนที่เข้าร่วมปฏิบัติด้วยกัน นอกจากนั้นเรายังได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติในขั้นตอนต่อไปอีกข้างหน้า การทำงานของจิตไม่มีการพักผ่อน เหมือนกันกับชีวิตเรา มีเวลาได้พักผ่อนเต็มที่ในเวลาของมัน แต่หลังจากนั้นร่างกายของเราจะไม่อยากอยู่นิ่งๆ คนเองสำคัญที่สุด การรู้จักตนเองสำคัญยิ่งกว่า การปฏิบัติธรรมเราคิดแต่ว่าเป็นของผู้สูงอายุคนที่แก่แล้วถึงเข้าวัด ในความเป็นจริง การปฏิบัติธรรมที่ง่ายจะต้องเป็นคนวัยรุ่น หรือวัยกลางคน ใจเป็นบุญเราอาจจะเคยได้ยินแต่ไม่เคยทำ ใจเป็นบุญคือคนที่มีเมตตา สงสาร อยากช่วยเหลือ ครั้งนั้นที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร เพราะเราผ่านการวิปัสสนามากกว่าห้าครั้ง สามารถที่จะแนะนำวิธีปฏิบัติถ่ายทอดให้กับคนอื่น ที่ต้องการสนใจอยากเรียน ส่วนอาหารในการรับประทานตลอดนั้นเลี้ยง ในเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่เรานั้นสามารถกำหนดได้หลายอย่าง เพราะมีวิธีการขั้นตอนเยอะ กำหนดอยากทานข้าวหนอ ยกไปจับ ยกมาตัก เข้าถึงจะเคี้ยวในหนึ่งคำนั้นจะต้องเคี้ยวมากกว่าสี่สิบกว่าครั้ง เคี้ยวจนละเอียดแล้วกลืน รับรู้จนข้าวผ่านลำคอตามไป เวลาที่เคี้ยวช้อนมือเราจะวางไว้ที่ตัก ประมาณสามวันจะมีการสอบอารมณ์หนึ่งครั้ง เพื่อที่จะเล่าปัญหาหรือสิ่งรบกวนในการวิปะสานา ในเมื่อการวิปัสสนาคือบุญสูงสุด สามารถส่งญาติของเราที่อยู่ในภพภูมิที่ไม่ดี อาจจะส่งผลต่อคนที่เสียไปให้ได้มาเกิด ในเจ็ดคืนแปดวันนั้น เราเองจะเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น ยิ่งสงบเรายิ่งมีความสุข ถ้าถามในเรื่องของการนำไปใช้ คนเรานั้นไม่ว่าจะทำเช่นไรในชีวิตก็ต้องการสองอย่าง อย่างแรกคือความสุขในการใช้ชีวิต และในอย่างที่สองคือ ความสุขในการทำงานเป็นลูกที่ดี เป็นคนดีของสังคม แต่การที่คนอื่นจะมองเราว่าดีนั้นเป็นการยาก เพราะเขาจะต้องมองความดีของตนเองก่อนถึงจะมาถึงเรา การใช้ชีวิตก็เช่นกัน ในวันที่เราต้องเดินคนเดียว จิตใจของเราจะต้องเด็ดเดี่ยว มั่นคงในการทำงาน ที่เราสามารถนำธรรมะไปใช้อย่างแรกคือการอยู่เป็น การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำงานทำดีในสิ่งที่เราเห็นว่าถูกว่าดี ไม่ทำในสิ่งที่เดือดร้อนคนอื่น ต่อมาคือการ ยอมรับสภาพของตนเองว่าเราอยู่ในฐานะไหน ทำอะไรได้บ้าง ยอมรับในทุกสถานการณ์อย่างเช่นเราถูกติว่าไม่ดี ทำงานไม่ได้ เราไม่ต้องไปโกรธเขา เขาอาจจะเป็นคนที่ห่วงใยและมองเราอยู่ห่างๆ กลัวว่าเราจะถูกมองไม่ดี ในมุมมองความคิดของเราอาจจะบอกกับตัวเองว่า โชคดีแค่ไหนที่เราได้เกิดมาพบเจอและได้ปฏิบัติธรรม มันทำให้เรารู้จักการคิดเป็น การวางตัวเมื่อเจอกับสถานการณ์ต่างๆ เราจะสามารถรับได้ในทันที สำหรับตัวผู้เขียนเอง เคยวิปัสสนากรรมฐาน 7 คืน 8 วัน บางคนถามว่าเวลาไปปฏิบัติธรรมแล้วทำไมเวลาออกมาใช้ชีวิตปกติ จริงๆแล้วการปฏิบัติธรรมนั้นคือการใช้ชีวิตปกติ แค่เวลาที่เราไปปฏิบัติธรรมนั้น เราแค่กำหนดอิริยาบถให้ช้าลงเท่านั้น อยู่กับตนเองแต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราออกมาใช้ชีวิตจริงเราก็ทำปกติ กำหนดรวดเร็วขึ้นเป็นธรรมชาติมากขึ้น จนถึงขั้นที่เรียกว่า กำหนดเป็นอัตโนมัติ ก่อนนั้นเราเองเคยมองคนที่นุ่งขาวห่มขาว นอนวัดว่า นอนบ้านได้ทำที่บ้านได้ แต่เมื่อวันหนึ่งได้มีโอกาสติดตามยายไปนอนวัดในวันพระสิ่งที่ได้มากกว่าการนอนบ้านคือ ความสุข สงบ และใจชื้นนอนหลับสนิท และเป็นการนอนน้อยที่เต็มอิ่ม คิดว่าอย่างแรกอาจจะเกิดจากการที่เราใช้พลังในการเปล่งเสียง ทำให้เราหลับง่ายและหลับสนิท ตอนตื่นไม่ง่วงนอน เป็นความแตกต่างทางด้านความรู้สึก และเมื่อได้เข้ามาปฏิบัติโดยจริงจัง ทำให้การใช้ชีวิตดูเป็นธรรมชาติจิตใจเรานิ่งขึ้น อะไรมากระทบใจเราจะนิ่งและเข้าใจความคิดและสายตาของอีกฝ่าย ในชีวิตเราทำเพื่อคนอื่นมามากแล้ว ในสามร้อยห้าสิบเจ็ดวัน ที่เหลืออีกแปดวัน ลองทำเพื่อตนเองอยู่กับตนเอง สั่งสมบุญเพิ่มบารมี แล้วเราจะเห็นความสุขที่แท้จริงของตนเอง เข้าใจชีวิตมากขึ้น มีสิ่งใดที่มากระทบใจเรา เราจะนิ่งและผ่านมันไปได้อย่างง่ายดาย รักตนเองก่อนที่เราจะไปรักคนอื่นและให้คนอื่นมารักเรารับชม สามเณรปลูกปัญญา ปี9 ออนไลน์ได้ที่ทรูไอดี ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นของผู้เขียนเอง (อุ้งเท้าแมว) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !