15 เมษายนนับไปคือวันที่สาม รอบสองฝั่งเล่นสงกรานต์ไม่ห่างหาย แม้อากาศร้อนสุดแสนจะทนทาน แต่เยาวชนเล่นน้ำไม่สเท้านกาย เสียงตามสายประกาศแห่ต้นดอกไม้ ตามเส้นสายรายรอบว่าทางไหน แต่งกายงดงามตามแบบไทย เตรียมดอกไม้คุถังตั้งน้ำรอรดพร้อมเพรียง 15 เมษายน เล่นน้ำวันที่สามของหมู่บ้านวันแรก ขบวนต้นดอกไม้บางที่จะเริ่มแห่ตั้งแต่วันแรกของวันสงกรานต์ เพื่อที่จะนำดอกไม้ไปรวมกันที่วัด นำโดยพระสงฆ์ต่อด้วยญาติโยม คุณตาคุณยายคนไหนแข็งแรงเดินรอบหมู่บ้านได้ก็สามารถเดินตามกันเป็นแถวไปได้เลยขบวนจะยาวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการแห่ต้นดอกไม้จะเริ่มทำตั้งแต่วันแรกของการเล่นสงกรานต์ และรวมต้นดอกไม้ใหญ่ในวันสุดท้าย ซึ่งในวันสุดท้ายขบวนจะยิ่งใหญ่กว่าในทุกวัน การแห่ต้นดอกไม้ในอดีต เครื่องดนตรีจะมีสองคนแบกกลองตุ้มและอีกสองคนแบกฆ้องโหม่ง ดนตรีโบราณที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน แต่ก่อนไม่มีเครื่องดนตรีเยอะแบบปัจจุบันไม่มีไฟฟ้า ชาวบ้านทำมาหากินตั้งแต่เช้าจนเย็น หลังจากเหน็ดเหนื่อยก็จะมารวมตัวกันกลางหมู่บ้านมีการก่อไฟ เหมือนลูกเสือรอบกองไฟ ด้วยความที่ชาวบ้านเป็นคนที่ชอบและรักสนุก จึงได้คิดค้นเครื่องดนตรีที่มาประกอบจังหวะในการร้องเพลงบ้าง ในการเต้นประกอบจังหวะ กลายมาเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านในปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ให้สัญญาณเสียงบอกเวลาในวัด ใครที่ชอบความสนุกสนาน เด็กวัยรุ่นก็จะเดินตามคุณยายก็จะพากันฟ้อนใส่ดนตรีโบราณ ซึ่งเราจะเห็นแบกหามสองคนต่อเครื่อง คนตีอีกหนึ่งปัจจุบันนี้คนหนุ่มคนสาวสมัยก่อน ก็หมดเรี่ยวแรงลงไปเรื่อยๆ จึงต้องใช้ตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายเป็นรถมอเตอร์ไซค์ต่อพ่วงเพิ่มความสะดวกเข้าไปอีก ในขบวนก็จะมีการทาแป้ง ทัดดอกไม้ดูแล้วเป็นสีสันของวันสงกรานต์อีกแบบหนึ่ง ถ้าเจอเพื่อนระหว่างทางก็จะชวนเดินแห่ขบวนไปด้วยกัน “ต้นดอกไม้”ลักษณะจะเป็นกระท่อมไม้เหมือนบ้าน จะมีที่รองน้ำมีลักษณะคล้ายบ้านมีชานสำหรับวางดอกไม้ประดับรอบด้วยดอกไม้ ความเชื่อในเรื่อง “ต้นดอกไม้” มีความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาว่า การบูชาพระรัตนตรัยเราจะบูชาด้วยดอกไม้สวย ตามตำนานที่ยายเคยเล่าให้ฟังว่า มีสตรีนางหนึ่ง ไม่มีทรัพย์สมบัติเหมือนคนอื่นเขา แต่อยากทำบุญจึงจึงนำดอกไม้ที่ตนเองปลูกในบ้านมาถวายพระทุกวัน ถวายด้วยดอกไม้สด จนสุดท้ายพอสิ้นอายุขัยไปได้ไปเกิดเป็นหญิงงาม ผิวพรรณดี ผลจากการถวายดอกไม้สวยทำให้ส่งผลบุญเช่นเดียวกัน แต่ก่อนการแห่ต้นดอกไม้จะกระทำโดยการทำบายศรีใบตองแห่ลงไปที่วัด จากนั้นก็จะนำไปวางไว้รวมกันที่ต้นดอกไม้ พอเวลาผ่านไปจึงเหลือเพียงช่อดอกไม้ หรือดอกไม้ที่ใส่ลงไปในถังหรือช่อดอกไม้ เพื่อความสะดวก เช้าในวันนี้จะเล่นน้ำสงกรานต์ ประมาณบ่ายจะพากันไปหาดอกไม้ ส่วนมากจะเป็นดอกคูนเป็นช่อใหญ่และดอกเยอะในช่วงเดือนเมษายน ทางบ้านจะเรียกว่าดอกหน้าแล้ง ถ้าดอกคูนออกนั่นแสดงว่าได้เข้าสู่หน้าแล้งเรียบร้อย บ่ายสาม หรือเวลา 13 นาฬิกาจะเริ่มในการแห่ต้นดอกไม้ พระสงฆ์จะถือกรวยดอกไม้ ที่ทำจากใบตองจะมีรูด้านล่างเพื่อให้น้ำรดลงด้านล่าง เวลาที่รดน้ำช่อดอกไม้ สามารถที่จะยกเพื่อรดศรีษะของผู้รด น้ำที่รดหอม บางครั้งก็ใส่น้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ขบวนต้นดอกไม้จะเดินไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางหมู่บ้านซึ่งมีการประกาศในเสียงตามสายเมื่อเช้าชาวบ้านที่เดินตามก็จะฟ้อนรำไป โยกใส่ดนตรีด้วยความสุข ตลอดเส้นทางจะชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ เพราะว่าจะมีรถดับเพลิงขับประกบฉีดเมื่อไม่มีคนรดน้ำรถดับเพลิงก็จะฉีด เพราะถนนถูกเผาด้วยแดดจนทำให้พื้นถนนร้อน บรรยากาศรดน้ำค้นดอกไม้ คนที่เดินตามขบวนจะถือกรวยดอกไม้ทุกคนที่นั่งรอจะนั่งคุกเข่าลงกับพื้นเพื่อรดต้นดอกไม้จนกว่าจะสุดขบวนซึ่งมีความยาวประมาณ 300 เมตร พอผ่านแถวก็จะเป็นเด็กวัยรุ่นจะเล่นน้ำกัน ตอนเด็กอายุสิบกว่า ประมาณเที่ยงจะปั่นจักรยานเพื่อไปเก็บดอกไม้เพื่อมาทำช่อดอกไม้ ใบตองใหญ่ๆมาทำกรวย นำดอกไม้ใส่ลงไปถ้าใส่ไว้ตั้งแต่เช้าอาจจะทำให้ดอกไม้เหี่ยว นำมาตั้งแต่เช้าก็จะนำมาใส่ถังไว้รอสำหรับแห่ต้นดอกไม้ การเตรียมน้ำหอมสำหรับรดต้นดอกไม้ หลังจากหาดอกไม้มาได้ ที่เป็นช่อก็จะเตรียมก็สำหรับใส่ช่อ ที่เหลือกลีบใบก็จะนำมาโรยน้ำที่เตรียมรดต้นดอกไม้ และใส่น้ำอบน้ำหอม ผงขมิ้น แป้งหอมโรยลงให้มีกลิ่นหอม การรดต้นดอกไม้ รดได้ทั้งพระสงฆ์ด้วย เพื่อให้ชุ่มฉ่ำ การทำแบบนี้ เหตุผลก็เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีความเชื่ออยู่ว่าถ้าต้นดอกไม้หรือถนนชุ่มฉ่ำเปียกจะส่งผลทำให้ฝนตกเยอะ ชาวบ้านจึงพากันออกมารดน้ำค้นดอกไม้ตลอดเส้นทาง เดินเท้าระยะทางประมาณสามกิโล ในวันสุดท้าย จะใช้ดนตรีเครื่องเสียงใหญ่เป็นวันรวมต้นดอกไม้ และในตอนเย็นก็จะลงวัดไปเพื่อขอขมา ที่เราได้ใส่ชุดเปียกเข้ามาในวัด น้ำจากเสื้อผ้าที่เปียกหยดลงในพื้นวัด จึงต้องลงมาขอขมาลาโทษ รวมต้นดอกไม้ เมื่อไปถึงจะแห่สามรอบ เป็นการระลึกนึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์จะเป็นคนพากล่าวคำถวาย และให้ทุกคนพูดตามซึ่งเป็นพิธีที่ไม่ต้องใช้เสียงปากเปล่า เพราะตอนนั้นอยู่ในความเงียบ ทุกคนฟังเสียงพระผู้นำคำกล่าวและกล่าวตาม ยกขันดอกไม้ ช่อดอกไม้ ถังดอกไม้ ช่อดอกไม้ขึ้น ถ้าไม่มีก็นั่งประนมมือ นั่งพับเพียบ สวดจนจบหลังจากนั้นทุกคนจะลุกไปทีละคนนำดอกไม้ของตนไปวางไว้ตามชานบนต้นดอกไม้ใหญ่ และนำน้ำหอมรดลงในรางไม้ อธิษฐานขอความสุขร่มเย็นให้กับตนเองและครอบครัว นำต้นดอกไม้ไปวาง ตักน้ำในถังรดลงตรงกลางของน้ำ แล้วให้น้ำไหลลงไปผ่านผ้าดิบสรงพระที่ตั้งอยู่ตรงกลาง ถือเป็นการสรงน้ำพระพุทธรูปอีกหนึ่งรอบ ผู้หญิงจะไม่สามารถเข้าไปบริเวณด้านล้างได้ แต่สามารถอยู่บริเวณรอบนอก ระหว่างนี้ ดนตรีก็จะบรรเลง รถดับเพลิงก็จะฉีดน้ำ และผู้คนก็จะสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ส่วนคนที่ชอบในการเก็บน้ำมนต์ น้ำหอมก็จะไปรองเอาน้ำหอมที่สรงพระนำขึ้นไปใส่ในถังน้ำอาบที่บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลให้อยู่เย็นเป็นสุข ขึ้นชื่อว่าน้ำจะมีใครละไม่ชอบ ยิ่งเป็นเด็กยิ่งชอบเล่นได้ทั้งวัน เทศกาลสงกรานต์สมัยตอนเด็กๆ เล่นตั้งแต่ยังไม่ถึงวันมหาสงกรานต์จนวันสุดท้ายพออายุอยู่ในระดับวัยทำงาน การเล่นสงกรานต์ลดลงตามวัย การรดต้นดอกไม่จะรดเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นเวลามี่แดดร่มลมตก อากาศไม่ร้อนมาก บ่ายสามกว่าจะถึงวัดก็ห้าโมงเย็นโดยประมาณ แต่ในวันสุดท้ายจะใช้เวลานานกว่าทุกวัน เพราะเป็นการเล่นสงกรานต์ส่งท้ายปี ทุกคนก็จะเต็มที่หน่อยเหมือนเป็นการเล่นส่งท้ายปีหน้าเจอกันใหม่ การรดต้นดอกไม้ถือเป็นประเพณีหรือข้อปฏิบัติของชาวภูไทบ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ทำต่อกันมาตั้งแต่รุ่นลูกสู่รุ่นหลาน ที่ไม่เคยเว้นว่างแม้แต่ปีเดียว ทุกคนต่างรอคอยแห่ต้นดอกไม้ เล่นน้ำสงกรานต์จึงเริ่มเล่นประมาณ บ่ายสามและหลังจากรดน้ำต้นดอกไม้ก็เล่นยาวไปจนถึงทุ่มสองทุ่ม การแห่ต้นดอกไม้ทราบว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อน เรื่องของการทำบุญถวายดอกบัวให้กับพระ ส่งผลให้เกิดมามีผิวพรรณผ่องใส สวยงามรวมถึงรูปร่างหน้าตาสวย ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นของผู้เขียน ได้รับอนุญาตจากบุคคลในภาพแล้ว (อุ้งเท้าแมว)เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !