วัน คเณศชยันตี 2566 หรือ วันประสูติพระพิฆเนศ ปีนี้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม 2566 ตามปฏิทินฮินดู ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญในปีนี้สำหรับคนนับถือพระพิฆเนศค่ะ จะมีความสำคัญอย่างไร ใช้ของไหว้อะไรบ้าง และมีเคล็ดลับการไหว้ขอพรพระพิฆเนศอย่างไรให้สมหวัง ต้องติดตามกันนะคะ
คเณศชยันตี 2566 คือวันอะไร ต่างกับ คเณศจตุรถี อย่างไร
“คเณศชยันตี” เป็นเทศกาลหนึ่งในศาสนาฮินดู เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันประสูติของ พระพิฆเนศ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ในช่วงกลางเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดย คเณศชยันตี ปี 2566 นี้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม 2566 ในสมัยโบราณผู้ศรัทธาจะนำเอาดินผสมเครื่องหอมปั้นเป็นองค์พระคเณศขึ้นมา พร้อมสักการะบูชาพระพิฆเนศและสวดสรรเสิญตลอด 4 วัน จากนั้นจึงนำเอาเทวรูปที่ปั้นขึ้นไปลอยในแม่น้ำเพื่อส่งเสด็จ
หลายคนอาจสับสนระหว่าง วันคเณศชยันตี กับ คเณศจตุรถี ที่ต่างก็กล่าวว่าเป็นวันประสูติของพระพิฆเนศ ทั้งนี้เป็นศาสนาฮินดูมีหลายนิกาย หลายความเชื่อที่แตกต่างกัน ฤกษ์ยามการบูชาจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งหากว่ากันตามความเชื่อแล้ว ถือได้ว่าเป็นการบูชาในวันประสูติพระพิฆเนศเหมือนกัน ต่างกันที่ช่วงเวลาค่ะ
โดย วันคเณศชยันตี ตามคัมภีร์มุทฺคลปุราณะ และความเชื่อของชาวมราฐี ในรัฐมหาราษฏระ ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่มีผู้บูชาพระพิฆคเณศมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นที่กำเนิดของ "นิกายคณปัตยะ" นิกายของพระคเณศ และยังเป็นที่ประดิษฐานพระคเณศที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ทั้ง 8 พระองค์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ "อัฏฐะวินายักก" ซึ่งมราฐีจะถือกันว่า วันคเณศชยันตี เป็นวันประสูติของพระพิฆเนศ ส่วน เทศกาลคเณศจตุรถี เป็นช่วงเวลาที่พระพิฆเนศเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ซึ่งชาวมราฐีจะเรียกว่า "คเณศ มโหตฺสว" หมายถึง การเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่
ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าทั้งสองวันนี้ต่างก็มีการบูชาพระพิฆเนศทั้งคู่ ต่างกันที่ความเชื่อของผู้คนในแต่ละรัฐ แต่ละนิกายนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
คเณศชยันตี 2566 ไหว้อะไรบ้าง สวดคาถาบูชาบทไหน ขอพรอย่างไรให้สมหวัง
ในวันคเณศชยันตี มีข้อควรปฏิบัติคือ
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
- ทำจิตใจให้ผ่องใส ยิ้มแย้ม คิดถึงสิ่งดีๆ เป็นมงคล
- ใส่เสื้อผ้าสีสันสดใส
- บูชาองค์พระคเณศเครื่องสักการะต่างๆ และอารตีไฟ
- สวดมนต์บูชาต่อองค์พระคเณศเพื่อขอพร
- บริจาคทานแก่ผู้ยากไร้ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยจิตเมตตา
ของไหว้พระพิฆศเนศ ในวันคเณศชยันตี
- ประทีป (เทียนแบบฮินดูสำหรับอารตีไฟ)
- กำยาน หรือธูป กี่ดอกก็ได้
- ดอกไม้หรือพวงมาลัย เช่น ดอกดาวเรือง
- ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า ส้ม มะพร้าวอ่อน แอปเปิ้ล หรือ องุ่น
- ปัญจอมฤต (น้ำมงคล 5 อย่าง) ได้แก่ น้ำสะอาด, นมจืด, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย และ เนย (ฆี)
- ปัญจเมวา (อาหารมงคลถวายเทพ) ได้แก่ อินทผาลัม น้ำตาลกรวด ลูกเกด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์
- ขนมที่พระพิฆเนศทรงโปรด เช่น ขนมลาดู ขนมโมทกะ
ห้ามถวายเนื้อสัตว์
วิธีไหว้พระพิฆศเนศ ในวันคเณศชยันตี
- จุดประทีป และธูปบูชา หน้าองค์พระพิฆเนศ
- สวด "โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ" 108 จบ
ตามด้วย "โอม กัง คณปัตเย นะโม นะมะหะ ศรี สิทธิวินายักกา นะโม นะมะหะ อัสถะวินายักกา นะโม นะมะหะ คณปติ บับป้า โมรยา" หรือเปิดบทสวดก็ได้ (ดูคลิปด้านล่าง) - หลังจบบทสวด ให้ถวายเครื่องสักการะต่างๆ ที่เตรียมไว้
- นำของไหว้ส่วนหนึ่งมารับประทานเพื่อเป็นสิริมงคล หรือแจกจ่ายผู้อื่นเป็นทาน
คาถาบูชาพระพิฆเนศ ขอพรในวันคเณศชยันตี 2566
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” (สวด 9 หรือ 108 จบ)
“โอม กัง คณปัตเย นะโม นะมะหะ
ศรี สิทธิวินายักกา นะโม นะมะหะ
อัสถะวินายักกา นะโม นะมะหะ
คณปติ บับปา โมรยา”
จากนั้นตั้งจิตอธิษฐานขอพร แล้วกล่าวว่า “โอม ศานติ ศานติ ศานติ”
บทความที่คุณอาจสนใจ
- คาถาบูชาพระพิฆเนศ ตามวันเกิด วิธีขอพรพระพิฆเนศปางต่างๆ สำหรับผู้ที่เกิดทั้ง 7 วัน
- แจกวอลเปเปอร์เสริมดวง ภาพเทพฮินดู เสริมดวงการเงิน การงาน ความรัก
- แจกวอลเปเปอร์เสริมดวง พระพิฆเนศ วอลเปเปอร์เสริมดวงสีหวาน
|
| |||
|
|