ศาลหลักเมือง กรุงเทพ คือที่รวมความศักดิ์สิทธิ์มากมาย วิธีไหว้ศาลหลักเมือง แบบไหนที่ถูกต้อง TrueID Horoscope ได้รวมมาให้แล้วค่ะ นอกจากเป็นมงคลกับชีวิตแล้ว ก็ยังเชื่อกันว่าหากไหว้ศาลหลักเมืองถูกต้องตามลำดับครบทุกจุดแล้ว ก็จะยิ่งช่วยเสริมดวงให้ผู้ไหว้นั้นมีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย และมีโชคลาภอีกด้วย การไหว้ศาลหลักเมืองเพื่อขอพรให้สัมฤทธิ์ผลต้องไหว้อย่างไร ใช้บทสวดบทไหน มาติดตามกันได้เลยค่ะ
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง กรุงเทพ ลำดับการไหว้ ไหว้อย่างไร เสริมสิริมงคล เสริมดวงชะตา
ในประเทศไทยนั้นมีศาลหลักเมืองรวมทั้งหมด 77 จังหวัดด้วยกัน แต่หากเอ่ยจะถึงสถานที่ขอพรเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลในชีวิต "ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร” ถือเป็นที่แรกๆ ที่หลายคนนึกถึง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นมาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ดังต่อไปนี้
ประวัติการสร้างเสาหลักเมือง
จากข้อมูลตามพงศาวดาร เสาหลักเมือง นั้นมีการสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 น.
ทำไมเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานครจึงมี 2 เสา
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสร้างเสาหลักเมืองใหม่แทนเสาหลักเมืองเดิมที่ชำรุด ทั้งนี้ได้มีการอัญเชิญเสาหลักเมืองเดิมมาประดิษฐานอยู่ใกล้เสาหลักเมืองใหม่ จึงมีเสาหลักเมือง 2 เสานับแต่นั้นมา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
นอกจากเสาหลักเมืองภายในศาลหลักเมืองแล้ว ยังมีองค์เทพารักษ์ประจำเมือง เช่น พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, เจ้าหอกลอง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าพ่อเจตคุปต์ เดิมทีสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลเพื่อประดิษฐานองค์เทพารักษ์ประจำเมืองทั้งหมด 3 ศาล ดังนี้
- กรมการรักษาดินแดน ประดิษฐาน ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง และ ศาลพระกาฬไชยศรี
- หน้าคุกของกรมพระนครบาล ประดิษฐาน ศาลเจ้าเจตคุปต์
- หอกลองประจำเมือง ประดิษฐาน ศาลเจ้าหอกลอง
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนและสร้างสถานที่ราชการ จึงได้มีการย้ายองค์เทพารักษ์ทั้ง 5 องค์มาที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพ และเป็นจุดสำคัญที่คนนิยมสักการะเมื่อมาไหว้ศาลหลักเมืองจนถึงปัจจุบัน
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
มีลำดับการไหว้อย่างไร ควรไหว้จุดไหนบ้าง
เมื่อมาไหว้ศาลหลักเมือง กรุงเทพ ไม่ใช่แค่เพียงเสาหลักเมืองเท่านั้นที่มีความศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังมีอีกหลายจุดที่น่าไหว้ขอพรด้วยเช่นกัน สำหรับการไหว้ศาลหลักเมืองตามลำดับนั้น แนะนำให้ไหว้ขอพร 5 จุดเรียงกันไปดังนี้
- หอพระพุทธรูป
- ศาลาจำลอง
- อาคารศาลหลักเมือง
- ศาลเทพารักษ์ทั้ง 5
- จุดเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง จุดที่ 1 : หอพระพุทธรูป
อันดับแรกเมื่อมาไหว้ศาลหลักเมืองควรเริ่มต้นที่ "หอพระพุทธรูป" ก่อนเป็นอันดับแรก ในหอนี้จะมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดประดิษฐานอยู่ การสักการะจุดนี้ให้นำดอกบัวไปถวาย และใส่บาตรพระประจำวันเกิด เพื่อเสริมมงคลให้ผู้ไหว้ก่อนเป็นอันดับแรก
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง จุดที่ 2 : ศาลาจำลอง
ในจุดนี้มีเสาหลักเมืองจำลอง วิธีการไหว้ให้จุดธูปเทียนกล่าวคำอธิษฐาน จากนั้นปักธูปในกระถาง แล้วนำทองคำเปลวมาปิด ตามด้วยนำผ้าแพร 3 สีมาผูกที่เสาหลักเมืองจำลอง สามารถทำเพียงหลักใดหลักหนึ่งก็ได้ ไม่จำเป็นต้องผูกทุกเสา
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง จุดที่ 3 : อาคารศาลหลักเมือง
จุดนี้ไม่สามารถจุดธูปเทียนได้ แต่สามารถนำพวงมาลัยมาถวายได้ 1 พวง
พระคาถาบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (3 ครั้ง)
ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมือง
เทวานัง พระภูมิ เทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง
สักการะนัง เตปิตุมเห
อานุรักขันตุอาโรคะเยนะสุ เขนะจะฯ
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง จุดที่ 4 : ศาลเทพารักษ์ทั้ง 5
จุดนี้ให้นำพวงมาลัย 5 พวงถวายเทพารักษ์ทั้ง 5 โดยเทพารักษ์ทั้ง 5 มีหน้าที่ดังนี้
- พระเสื้อเมือง เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันภัยทั้งทางบก และทางน้ำ คุมไพร่พลรักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากศัตรู
- พระทรงเมือง เป็นเทพารักษ์มีหน้าที่ปกป้องดูแลทุกข์สุขของราษฎรทั้งแผ่นดิน และดูแลความผาสุกของบ้านเมือง มี "ปู่เจ้าเขาเขียว" และ "ปู่เจ้าสมิงพราย" เป็นบริวาร
- พระกาฬไชยศรี เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวาร "พระยม-เทพเจ้าแห่งความตาย" มีหน้าที่ป้องมิให้ผู้ใดทำความชั่ว รวมทั้งสอดส่องดูแลบุคคลอันธพาลในยามวิกาล
- เจ้าหอกลอง หรือที่หลายคนเรียก เจ้าพ่อหอกลอง เป็นเทพารักษ์ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน ตามธรรมเนียมอย่างโบราณที่ใช้ สัญญาณกลองในการสื่อสาร เพื่อแจ้งเหตุเรื่องอัคคีภัย หรือรักษาเวลาโมงยาม
- เจ้าเจตคุปต์ หรือที่หลายคนเรียกว่า เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นเทพารักษ์ที่เป็นบริวารแห่งพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของมนุษย์เพื่อรายงานพระยมเมื่อตายไปแล้ว
วิธีไหว้ศาลหลักเมือง จุดที่ 5 : จุดเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด
จุดนี้เป็นจุดสุดท้ายในการไหว้ศาลหลักเมือง ให้เติมน้ำมันตะเกียงที่พระประจำวันเกิดครึ่งขวด ครึ่งขวดที่เหลือให้นำไปเติมที่ตะเกียงสะเดาะเคราะห์เพื่อเป็นการปัดทุกข์โศกโรคภัยออกไปจากชีวิต
พิกัดศาลหลักเมืองจังหวัดต่างๆ พร้อมประวัติความเป็นมา
เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นนทบุรี น่าน
ราชบุรี นครนายก สุรินทร์ ศรีสะเกษ
โคราช ภูเก็ต ขอนแก่น นครศรีธรรมราช
มหาสารคาม นครปฐม จันทบุรี
บทความที่คุณอาจสนใจ
เที่ยวกรุงเทพ 1 วัน เดินชิลชม พระนคร ถ่ายรูปแคนดิด
หากยังอ่านดวงไม่จุใจ ติดตามอ่านดวงแบบอื่นๆ ได้ที่นี่ | ||||
|
| |||
|
|