รีเซต

ไหว้พระขอพรวัดทับกระดาน เยือนตำนานพุ่มพวง ดวงจันทร์

  • 11 มิถุนายน 2565
  • 4,243 3

     วัดทับกระดาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม วัดพุ่มพวง วัดดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากมีความเกี่ยวเนื่องกับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ แล้ว อดีตเจ้าอาวาส หลวงพ่อบวช ตุลายโก หรือพระครูสุธรรมรัต พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ก็ยังเป็นที่นับถือจากชาวบ้านในท้องที่ และนอกท้องที่ด้วย แล้วเพราะอะไรวัดทับกระดานจึงเป็นที่สนใจ และมีประวัติความเป็นมาอย่างไรวันนี้ TrueID Horoscope นำมาบอกกันค่ะ

 

 

วัดทับกระดาน พุ่มพวงดวงจันทร์

ไหว้พระขอพรวัดทับกระดาน เยือนตำนานพุ่มพวง ดวงจันทร์

      พระใบฎีกาสุพจน์ ฐิตาโภ ได้เปิดเผยว่าเมื่อปี พ.ศ 2473 ในตอนนั้นวัดทับกระดานยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่  และบ้านทับกระดานในสมัยนั้นมีชื่อเรียกว่า “บ้านทัพกันดาร” ตามสภาพภูมิประเทศในตอนนั้นการสัญจรไปมายังเต็มไปด้วยความยากลำบาก

     ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2476 โดยการนำของ ปู่บุญ ดอกไม้หอม และ ปู่เสาร์ โภคา ได้นำพาชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจ ร่วมทุนทรัพย์ก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่บนเนื้อที่ 10 ไร่ และมีการตั้งชื่อเพื่อเป็นสิริมงคลนามว่า “วัดทับกระดาน” แต่ก็มีเหตุทำให้ต้องย้ายที่ตั้งวัดเมื่อครั้งที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2484 แล้วมีการสร้างวัดขึ้นมาใหม่ในพื้นที่ปัจจุบัน

kwanchai / Shutterstock.com 

     แต่ด้วยตอนนั้นมีพระเพียงรูปเดียวที่จำพรรษาต่อมาท่านได้ย้ายกลับไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกจึงทำให้วัดทับกระดานขาดพระจำวัด  จนเมื่อปี 2490 ได้มีการนิมนต์ หลวงพ่อบวช ตุลายโก ซึ่งท่านเป็นบุตรของ  ปู่บุญ ดอกไม้หอม ที่เป็นผู้นำในการสร้างวัดทับกระดานในครั้งแรก มาเป็นผู้พัฒนาวัดและเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการของวัดทัพกระดานอย่างเป็นทางการ

     ด้วยความที่หลวงพ่อบวช ตุลายโก เป็นพระนักพัฒนาจึงมีผู้ให้ความเลื่อมใส และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทับกระดานต่อมาท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบ่อสุพรรณ ในปี พ.ศ.2520 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปี พ.ศ.2522 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครู ชั้นสัญญาบัตร โดยได้ทินนามสมศักดิ์ว่า พระครูสุธรรมรัต 

วัตถุมงคล หรือของขลัง แห่งวัดทับกระดาน

     เมื่อปี พ.ศ. หลวงพ่อบวช ตุลายโก ท่านได้ทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ มากมาย เหรียญรุ่นแรกที่ท่านสร้าง เป็นเหรียญที่มีพิธีปลุกเสกรวม 9 วัน 9 คืน โดยมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้นมานั่งภาวนา นั่งปรก กันมากมาย และเป็นที่ร่ำรือกันว่าหลวงพ่อบวช ตุลายโก ท่านเป็นคนที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกกันว่าปากพระร่วง ซึ่งเรื่องอัศจรรย์ปรากฏอภินิหารแสดงให้เห็นแก่ชาวบ้านทั่วไป  ผู้คนจึงนิยมมาขอพรจากท่าน

 SOMRERK WITTHAYANANT / Shutterstock.com

รำลึก 30 ปี ตำนานราชินีเพลงลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” 

     วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (อายุ 31 ปี) พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคเอสแอลอี โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ที่วัดทัพกระดาน ด้วยความที่ พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นนักร้องชื่อดังมีแฟนเพลงเป็นจำนวนมาก การจากไปของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จึงไม่ได้จากไปอย่างตลอดกาล ด้วยความที่มีผู้ที่รักและนับถือในความสามารถ และผลงานจึงได้มีการสร้างพุ่มพวงเพื่อเป็นการรำลึกถึงพุ่มพวงดวงจันทร์

     ทุกๆ วันที่ 11-16 มิถุนายนของทุกๆ ปี จะมีการจัดงานทำบุญเพื่อเป็นการระลึกถึงการจากไป อีกทั้งยังมีผู้นิยมมาไหว้ศาลพุ่มพวง ดวงจันทร์ เพื่อขอพรความสำเร็จในหน้าที่การงาน  ซึ่งในศาลพุ่มพวง ดวงจันทร์ที่วัดทับกระดานได้มีการสร้างไว้ 5 หุ่น มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ผู้สร้าง 

การไหว้ขอพร พุ่มพวงดวงจันทร์ นั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปดังนี้ 

  • หุ่นตนที่ 1 สามารถขอได้ทุกอย่างยกเว้นเรื่องหวย  ผู้มาแก้บนนิยมแก้บนด้วย เสื้อผ้า เครื่องสำอาง กระจกแต่งหน้า
  • หุ่นตนที่ 2 สามารถมาขอความก้าวหน้าสำหรับผู้ที่ทำงานในสายบันเทิง
  • หุ่นตนที่ 3 สามารถมาขอเรื่องครอบครัว ผู้มาแก้บนต้องแก้ด้วยเงินสด หรือของมีค่าห้ามใช้เป็นทองปลอมหรือเงินปลอมเด็ดขาด
  • หุ่นตนที่ 4  สามารถมาขอเรื่องปลดหนี้ ของแก้บนแล้วแต่ว่าผู้บนได้บนอะไรไว้
  • หุ่นตนที่ 5 ให้ขอในสิ่งที่หวังเอาไว้สูงสุด ผู้มาแก้บนต้องแก้ด้วยมาลัยสีแดง หรือดอกกุหลาบสีแดงเท่านั้น

 ***ในการสร้างหุ่นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ผู้ที่ต้องการสร้าง ต้องทำการขออนุญาตจากคุณแม่ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ก่อนถึงทำการสร้างได้ค่ะ***

 

>> ดูพิกัดเดินทางไปวัดทับกระดานสุพรรณบุรี <<

>>จากไปแต่ไม่เคยลืม! แกรมมี่โกลด์ จับ 18 ศิลปิน <<
จัดคอนเสิร์ต ดวงจันทร์กลางดวงใจ ร่วมย้อนรำลึก 28 ปี พุ่มพวง ดวงจันทร์

บทความที่คุณอาจสนใจ

เส้นทางเศรษฐี รวมสถานที่ศักสิทธิ์ ขอโชคลาภ นำพาโชค

หากยังอ่านดวงไม่จุใจ ติดตามอ่านดวงแบบอื่นๆ ได้ที่นี่

ดวงรายวัน

 

ดวงรายสัปดาห์

 

ดวงรายปักษ์

ดวงรายเดือน

 

เลขมงคล

 

ฤกษ์มงคล