บทสวดมนต์ มีมากมายหลากหลายบท แต่สำหรับคนกลัวผี เราขอแนะนำ บทสวดมนต์กันผี และ คาถากันผี ที่เชื่อกันว่าสามารถปัดเป่าสิ่งไม่ดี และป้องกันมิให้ภูติผีปิศาจ วิญญานไม่ดีต่างๆ มารบกวนค่ะ ใครที่ขวัญอ่อน มีสัมผัสที่ 6 แรง หรือต้องไปนอนแปลกที่แปลกถิ่นที่เค้าเล่าลือกันว่าแรง (คลิกอ่าน เปิดตำนาน ลึกลับ 10 ที่เที่ยวไทย กับ เรื่องเล่า จากรุ่นสู่รุ่น) ต้องลองนำไปท่องกันดูนะคะ นอกจากจะช่วยกันผีได้แล้ว ยังช่วยเสริมสิริมงคลในชีวิตของเราได้อีกด้วยค่ะ
บทสวดอิติปิโส
เป็นบทสวดสรรเสิญพระพุทธเจ้าที่มีพุทธคุณครอบจักรวาล สามารถสวดเป็นประจำได้ทุกวันทั้งเช้าและก่อนนอน ช่วยให้จิตใจสงบเย็น เป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน และช่วยปัดเป่าเคราะห์ ป้องกันภัยให้กับผู้ที่สวดภาวนา
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
_________________________________
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด บทสวดบูชาหลวงปู่ทวด
หลายคนที่เดินทางไปไหนมาไหนนิยมบูชาหลวงปู่ทวด เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยปัดเป่าเคราะห์ แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง รวมถึงอันตรายจากการรบกวนของสิ่งลี้ลับด้วยเช่นกันค่ะ
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
_________________________________
คาถาท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า "ท้าวกุเวร" ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก "ท้าวไพสพ" เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย เป็นผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์
ตั้ง นะโม 3 จบ
อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
คาถาท้าวเวสสุวรรณ แบบสั้น
เวสสะ พุสะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ นะเมติ
คาถาชินบัญชร สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
พระคาถานี้แต่เดิมเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ และได้ดัดแปลงแต่งเติมเพิ่มความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น โดยเป็นการอาราธนาพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสาวก พระอริยสงฆ์ ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปกป้องคุ้มครอง จึงเปรียบเสมือนเกราะคุ้มภัยให้แก่ผู้สวด ศัตรูภูติผีไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยมแก่ผู้พบเห็นโดยทั่วไปค่ะ
คาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
เริ่มสวด นะโม 3 จบ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง รักขะตุ สัพพะทา
คาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม
เริ่มสวด นะโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์โตแล้วเริ่มสวดบทนำ
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คลิกอ่าน คำแปล พระคาถาชินบัญชร ได้ที่นี่
_________________________________
บทสวดกรณียเมตตสูตร คาถากรณียเมตตสูตร
ที่มาของบทสวดนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เล่ากันว่าภิกษุจำนวนหนึ่งพากันไปจำพรรษาในป่าแห่งหนึ่ง เหล่ารุกขเทวดาบนต้นไม้จึงพากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์ โดยคิดว่าคงพักอยู่ไม่กี่วันก็จะไป แต่เมื่อรู้ว่าพระภิกษุจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา จึงพากันหลอกหลอนภิกษุเหล่านั้นจนอยู่ไม่เป็นสุข เพื่อขับเหล่าพระภิกษุให้ออกไปที่อื่นและตนจะได้กลับขึ้นไปอยู่บนวิมานตามเดิม
ภิกษุเหล่านั้นจึงกลับไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงประทานบทแผ่เมตตาให้แก่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเหล่าภิกษุสวดบทแผ่เมตตานั้น บรรดาเทวดาทั้งหลายได้ยิน ก็มีจิตใจอ่อนโยน เลิกหลอกหลอน ไม่รบกวนท่านอีก
เหล่าภิกษุจึงสามารถอยู่ในป่าได้อย่างสงบ และปฏิบัติธรรมได้อย่างราบรื่นจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์กันหลายรูป บทแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้ ก็คือบทสวดกรณียเมตตสูตรนั่นเอง
นับว่าเป็นการสยบด้วยความเมตตา ไม่ต้องใช้ความรุนแรงใดๆ นอกจากสิ่งลี้ลับจะไม่รบกวนแล้ว ยังทำให้ผู้สวดเป็นที่รักของเหล่าเทวดาทั้งหลาย จะหลับหรือตื่นก็เป็นสุข มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มกันรักษาค่ะ
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทะริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พะยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
_________________________________
รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
|
| |||
|
|