รีเซต

ประเพณีทอดกฐิน คำถวายกฐิน และตำนานธงกฐิน โดย TrueID Horoscope

  • 17 ตุลาคม 2565
  • 13,938 8

     ประเพณีการทอดกฐินเป็นการทำบุญใหญ่ และเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมานานโดยจะเริ่ม ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกๆ ปี หรือช่วงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม - วันอังคารที่ 8  พฤศจิกายน 2565 จะทำการทอดกฐินก่อน หรือหลังช่วงนี้ไม่ได้ ส่วนการจัดงานทอดกฐิน และความหมายธงกฐินมีดังนี้

ประเพณีทอดกฐิน คำถวายกฐิน และตำนานธงกฐิน


     ผู้ที่เป็นเจ้าภาพกองกฐินต้องทำการติดต่อวัดที่ต้องการจะไปทำการทอดกฐินเพื่อเป็นการกำหนดเวลา ในการทำบุญ และเผื่อระยะเวลาบอกบุญผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมทำบุญด้วยกัน

เครื่องกฐินชุดพื้นฐานประกอบด้วย

(ซึ่งในปัจจุบันนี้มีร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์จัดชุดสำเร็จไว้แล้ว)

  • ผ้าไตรครอง (กฐิน)
  • บาตร พร้อมอัฐบริขาร
  • ตาลปัตร
  • ย่าม
  • สัปทน
  • ที่นอน
  • หมอน
  • เสื่อ
  • มุ้ง
  • ผ้าห่ม
  • ผ้าเช็ดตัว
  • ร่ม
  • ปิ่นโต
  • รองเท้า
  • กาต้มน้ำ
  • กระโถน
  • กานวม-ถ้วยชา
  • จานข้าวช้อนส้อม
  • พานแว่นฟ้า
  • ครอบไตร
  • ธงมัจฉาจระเข้
  • ไม้กราด
  • เทียนปาฏิโมกข์
  • ชุดถังผ้าป่า
  • สบง
  • ชะนี
  • อาสนะ
  • ชุดเครื่องโยธา
  • กระติกน้ำ
  • หม้อหุงข้าว
  • เตา
  • กระทะ
  • ช้อนส้อม
  • เหยือกน้ำ

 

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิมัง มะยัง ภันเต สะปะริวารัง  กะฐินะ  จีวะระทุสสัง
สังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง
สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง  ปะฏิคคันหาตุ   ปะฏิคคะ
เหตตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ  กะฐินัง อัตถะรัตตุ   อัมหากัง
  ทีฆะรัตตัง หิตายะ  สุขายะ   นิพพานายะจะฯ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน (ไทย)

ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า-ทั้งหลาย
ขอน้อมถวาย  ผ้าจีวรกฐิน พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์
  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับ  ผ้าจีวรกฐิน  พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้
  ครั้นรับแล้ว  จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้  เพื่อ-ประโยชน์
  เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน-เทอญฯ


ความหมายธงกฐินทั้ง 4 มีดังนี้ 

ธงจระเข้ (ความโลภ)

     ความหมายธงจระเข้เปรียบถึงความโลภเนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ที่มีปากกว้างใหญ่กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ตามตำนานได้มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งหนึ่งมีเศรษฐีขี้เหนียวไม่เคยก่อบุญสร้างกุศล ได้นำสมบัติที่ตนเองหวงแหนฝังไว้ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน พอเศรษฐีตายไปด้วยผลกรรมที่มีจึงได้เกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติที่ท่าน้ำหน้าบ้านตนเองด้วยความอยากหลุดพ้นจึงเข้าฝันภรรยาตนและบอกให้ขุดสมบัติขึ้นมาทำบุญ ภรรยาของเศรษฐีจึงได้จัดการทอดกฐินขึ้น ฝ่ายจระเข้เศรษฐีเกิดความดีใจเลยว่ายน้ำตามขบวนแห่กฐินแต่ไม่ทันถึงวัดก็ขาดใจตายไปเสียก่อนภรรยาของเศรษฐีจึงได้วาดธงจระเข้แทนสามีที่เสียชีวิตไป  ในปัจจุบันนี้จะเห็นธงจระเข้ติดอยู่ตามร้านค้าต่างๆ เพราะเป็นตัวแทนของการกินเท่าไหรก็ไม่อิ่มซึ่งถือเป็นการดึงดูดเงินทางให้เข้ามา


ธงตะขาบ (โกรธ) 

     ความหมายธงตะขาบเป็นเครื่องหมายแสดงว่าวัดนั้นมีผู้จองเป็นเจ้าภาพกองกฐินแล้ว  หากผู้จะมาปวารณาเป็นเจ้าภาพให้ไปวัดอื่นได้เลย

 

ธงมัจฉา (หลง)

     ความหมายธงมัจฉา เป็นตัวแทนของหญิงสาวตามความเชื่ออานิสงส์จากการถวายผ้าแด่พระภิกษุสงฆ์จะส่งผลให้มีรูปโฉมที่งดงาม ส่งเสริมด้านเมตตามหานิยม หากเป็นพ่อค้าแม่ขายจะทำมาค้าคล่อง


ธงเต่า (สติปัญญา)

     ความหมายธงเต่า ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่าวัดนี้ได้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว และธงเต่านี้จะถูกปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นช่วงหมดฤดูกาลทอดกฐินนั่นเองตามความเชื่อเต่ามีความหมายถึง อายุที่ยืน สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ


บทความที่คุณอาจสนใจ

ตักบาตรเทโว คืออะไรทำไมต้องทำหลังออกพรรษาโดย TrueID Horoscope
รวมบทสวดมนต์ คาถาเรียกเงิน เรียกทรัพย์ มีโชคมีลาภ นับเงินรัวๆ! (มีคลิป)
รวมบทสวดมนต์ สุดยอดพระคาถาเสริมดวงการเงิน มีโชคลาภไม่ขาดมือ (มีคลิป)

รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

บทสวดมนต์ ตอนเช้า

 

บทสวดมนต์ ก่อนนอน

 

รวมบทสวดมนต์ต่างๆ

รวม บทแผ่เมตตา

 

รวมคาถา เสริมดวง

 

รวมคาถา บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์