วันวิสาขบูชา 2566 ปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2565 มาเตรียม บทสวดมนต์วันวิสาขบูชา ไว้สวดเพื่อความเป็นสิริมงคลกันนะคะ พร้อมด้วย คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา และ บทสวดมนต์สำหรับเวียนเทียน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราสามารถไปเวียนเทียนที่วัด หรือจะเวียนเทียนออนไลน์ที่บ้านก็ได้เช่นกันค่ะ
วันวิสาขบูชา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ คือ เกิด ตรัสรู้ คือ สำเร็จมรรคผล และ ปรินิพพาน คือ ดับ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสามวาระนี้เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหกตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์ จึงเป็นที่มาของคำว่า วิสาขบูชา ซึ่งย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" หรือ "การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก" นั่นเองค่ะ
และในสมัยพุทธกาล วันเพ็ญเดือนหกนี้ยังเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมพระสาวก ที่ประกอบไปด้วยองค์ 4 หรือ จาตุรงคสันนิบาตอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึง พุทธศาสนิกชนทั่วโลกก็จะพากันเข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ ภาวนา รวมถึงเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำ เพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยนิยมสวดมนต์ในวันวิสาขบูชาด้วยบทต่างๆ ดังนี้ค่ะ หากใครไม่สะดวกสวดตามก็สามารถกดฟัง คลิปเสียงสวดมนต์ วันวิสาขบูชา ได้ที่ท้ายบทความนี้นะคะ
บทสวดมนต์ วันวิสาขบูชา 2566
- บทบูชาพระรัตนตรัย
- บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
- บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
- บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ
- บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
- บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ
- บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
- บทสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ
- บทสวดมนต์เนื่องในวันวิสาขบูชา
- บทสวดบูชาดอกไม้ธูปเทียนในวันวิสาขบูชา
- บทสวดขณะเวียนเทียน ในวันวิสาขบูชา
1. บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
2. บทสวดมนต์นมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
3. บทสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วัชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
4. บทสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ
(นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน) สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)
5. บทสวดมนต์สรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
6. บทสวดมนต์สรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ
(นำ) ธรรมะคือคุณากร (รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล
และเก้านับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจครอง ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ)
7. บทสวดมนต์สรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
8. บทสวดมนต์สรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ
(นำ) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนพหมู่พระศรา- พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)
9. บทสวดมนต์เนื่องในวันวิสาขบูชา
(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
วิสาขะ ปุณณะมายัง โย
ชาโต อันติมะชาติยา
ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง
อะโถปิ ปะรินิพพุโต
โลเก อะนุตตะโร สัตถา
ทะยาณาณัณณะวาสะโย
นายะโก โมกขะมัคคัสมิ
ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง
มะยันตัง สะระณัง คะตา
อามิเสหิ จะ ปูเชนตา
ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา
อิมันทานิ สุนักขัตตัง
อะภิมังคะละสัมมะตัง
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ
ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง
สัมปัตตา อะนุกาเลนะ
พุทธานุสสะระณาระหัง
ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ
กาละภูตัง สะยัมภุโน
ตัง สัมมานุสสะระมานา
สุจิรัง นิพพุตา มะปิ
ปะสันนาการัง กะโรนตา
สักกาเร อะภิสัชชิยะ
ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร
มาลาวิกะติอาทะโย
ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ
ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
สะมาหะริตวา เอกัตถะ
ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง
สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง
ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ
สัมพุทธะคุณะทีปะนัง
พุทธัสสุโพธิตาทีนัง
ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ
10. คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน ในวันวิสาขบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา , โย โน ภะคะวา สัตถา ,
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ , อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ
ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน , ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ ,
สัก๎ยะปุตโต สัก๎ยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะ-
พ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ ,
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ,
ส๎วากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ,
สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ , ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ , อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ,
อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ
ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริต๎วา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ , มะยัง โข
เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง
ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา , อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา , อิมัง ถูปัง
(ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน , อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ
11. บทสวดมนต์ขณะเวียนเทียน ทั้งที่วัดและเวียนเทียนออนไลน์
หากท่านใดสวดแล้วเข้าใจคำแปล น้อมนำจิตให้เข้าถึงความหมายได้ ก็ย่อมบังเกิดกุศลมากยิ่งขึ้น โดยขณะเวียนเทียนสามารถกล่าวแต่คำบาลีได้ค่ะ สำหรับท่านใดที่เวียนเทียนออนไลน์ ก็สามารถน้อมใจขณะสวดเสมือนกำลังเดินเวียนเทียนจริงๆ ได้เช่นกันค่ะ
เวียนเทียนรอบที่ 1 บทสวดมนต์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
(คำแปล)
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เวียนเทียน รอบที่ 2 บทสวดมนต์เพื่อระลึกถึงพระธรรม
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ*
*(ห หีบ ในภาษาบาลีออกเสียงเป็น ฮ นกฮูก)
(คำแปล)
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ
เวียนเทียนออนไลน์ รอบที่ 3 บทสวดระลึกถึงพระสงฆ์
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
(คำแปล)
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
คำแปลบทสวดมนต์วันวิสาขบูชา
เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ได้อุบัติขึ้นแล้วในหมู่มนุษย์ ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท, พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดม (เหล่ากอแห่งพระอาทิตย์) โดยพระโคตร, เป็นบุตรแห่งศากยะ เสด็จออกบรรพชาแล้วแต่ศากยสกุล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมเทวดาและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่ต้องสงสัยแล
อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้อย่างไม่จำกัดกาลเวลา ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน และพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วแล เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นธรรมที่รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นี้คือคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 4 บุรุษนั่นแหละคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า พระปฏิมามานี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สร้างไว้แล้วเพียงเพื่อเป็นเครื่องให้ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยการเห็นแล้ว ได้ความเลื่อมใส และความระลึกถึง
บัดนี้เราทั้งหลายถึงวันวิสาขบูชา อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็นวันที่ประสูติ วันตรัสรู้ แลวันปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ถือเครื่องสักการะมีธูปเทียนเป็นต้นเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดังภาชนะรองรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตามความเป็นจริง บูชาด้วยเครื่องสักการะตามที่ได้ถือไว้แล้ว จักทำประทักษิณซึ่งพระปฏิมากรนี้สิ้นวาระ 3 รอบ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานมาแล้ว ยังทรงปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์และุเพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- ประวัติวันวิสาขบูชา วิสาขบูชา 2566 วิสาขปุรณมีบูชา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ ที่มาวันวิสาขบูชาในไทย
- วิสาขบูชา สักการะ 4 สังเวชนียสถาน อินเดีย-เนปาล พุทธสถานสำคัญ
- รวม สถานที่จัดงาน วันวิสาขบูชา 2566 เวียนเทียน ไหว้พระ ทำบุญ ตักบาตร
รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
|
| |||
|
|