พระคาถาป้องกันภัย หรือคาถาโมรปริตร หรือที่เรียกกันติดปากว่า คาถาพญายูงทอง จากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถือเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์สำคัญ ที่เชื่อกันว่าช่วยป้องภัยภัยนานาประการ กันไฟ กันฟ้าผ่า แคล้วคลาดเป็นเลิศ โดยเป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นเรื่องราวในสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"
kajornyot wildlife photography / Shutterstock
เปิดตำนาน ที่มา พระคาถาโมรปริตร
หรือคาถาพญานกยูงทอง
บทสวดมนต์ คาถาโมรปริตร
หรือ คาถาพญานกยูงทอง พร้อมคำแปล
บทสวดตอนเช้า
โมระปะริตตัง อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะ วัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะ เรมุ ทิวะสัง เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เตจะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา โมระปะริตตัง
หมายเหตุ คำที่มีความหมายว่า เวลาเช้า คือ "อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา"
คำแปล
พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาเป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสง สว่าง กำลังสาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์ผู้สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าทั้งหลายให้อยู่ เป็นสุขตลอดกลางวัน ในวันนี้
ท่านเหล่าใดละบาปได้แล้ว รู้ธรรมทั้งปวงหมดทุกอย่าง ขอท่านผู้ไม่มีบาปเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า ท่านผู้ไม่มีบาปทั้งหลายโปรดรักษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระโพธิญาณ ขอนอบน้อมท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง
บทสวดตอนเย็น
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยิติ
หมายเหตุ คำที่มีความหมายว่า เวลาเย็น คือ "อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา"
คำแปล
พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาเป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสง สว่าง สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพีกำลังอัศดงแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์ผู้สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้า ทั้งหลายให้อยู่เป็นสุขตลอดราตรีค่ำคืนวันนี้
ท่านเหล่าใดละบาปได้แล้ว รู้ธรรมทั้งปวงหมดทุกอย่าง ขอท่านผู้ไม่มีบาปเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า ท่านผู้ไม่มีบาป ทั้งหลายโปรดรักษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระโพธิญาณ ขอนอบน้อมท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง
คาถาหัวใจพญานกยูงทอง
นอกจากนี้ ยังสามารถสวดหัวใจคาถานี้ เพื่อป้องกันภัยแคล้วคลาดได้เช่นกัน โดยที่มาของคาถานี้ เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และได้ถูกจารึกไว้ในหนังสือ "รำลึกวันวาน" ซึ่งบันทึกโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ มีความตอนหนึ่งดังนี้
ระหว่างที่หลวงปู่มั่นพำนักอยู่ที่ดอยมูเซอ วันหนึ่ง พระสยามเทวาธิราช พร้อมทั้งเทพบริวารได้พากันมากราบนมัสการท่านซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่ พอรายงานตัวเสร็จ ท่านก็ถามถึงวัตถุประสงค์ที่มา พระสยามเทวาธิราชตอบว่า
"เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ อย่างหนักหน่วง ... พวกข้าพเจ้าป้องกันเต็มที่"
หลวงปู่มั่นถามว่า "มีคนบาดเจ็บล้มตายไหม?"
พระสยามเทวาธิราชตอบว่า "มี"
หลวงปู่มั่นถามว่า "ทำไมไม่ช่วย?"
พระสยามเทวาธิราช ตอบว่า "ช่วยไม่ได้ เพราะเขามีกรรมเวรกับฝ่ายข้าศึก ... จะช่วยได้แต่ผู้ไม่มีกรรม สถานที่สำคัญ และพระพุทธศาสนาเท่านั้น"
หลวงปู่มั่นถามว่า "มานี่มีจุดประสงค์อะไร?"
พระสยามเทวาธิราช ตอบว่า "ขอให้ท่านบอกคาถาปัดเป่าลูกระเบิดไม่ให้ตกถูกที่สำคัญด้วย"
หลวงปู่มั่นจึงกำหนดจิตพิจารณาจนได้คาถาว่า
"นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา"
เมื่อท่านบอกให้แล้ว คณะเทพของพระสยามเทวาธิราชก็อนุโมทนาสาธุการแล้วลากลับไป
รวมบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และคาถาเสริมดวง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
|
| |||
|
|