รีเซต

บทสวดมนต์อิติปิโส 3 จบ 9 จบ แบบเต็มและแบบย่อ สวดเสริมมงคลชีวิต

  • 25 ตุลาคม 2565
  • 35,025

      บทสวดอิติปิโส คือบทสวดสรรเสิญพระรัตนตรัยที่ชาวพุทธนิยมสวด ทั้ง บทสวดอิติปิโส 3 จบ 9 จบ หรือสวดอิติปิโสเท่าอายุบวกหนึ่ง เพราะมีความหมายอันมงคลคือการสรรเสิญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ซึ่งขึ้นต้นบทสวดด้วยคำว่า "อิติปิโส..." จึงนิยมเรียกบทนี้ว่า บทสวดอิติปิโส ตามคำขึ้นต้นนั่นเอง 

      เชื่อกันว่า หากใครสวดบทอิติปิโสเป็นประจำทุกวันแล้ว จะช่วยเสริมดวงชะตาชีวิตให้แคล้วคลาด ปลอดภัย มีสิริมงคลแก่ชีวิต ทำให้ชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป 

 

บทสวดมนต์ อิติปิโส 9 จบ 3 จบ แบบเต็ม แบบย่อ พร้อมคำแปล

 

อิติปิโส ควรสวดกี่จบ สวดตอนไหนดี

      บทสวดอิติปิโสนั้นเป็นบทสวดที่จะสวดตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของผู้สวด โดยจะเลือกเป็นบทสวดมนต์ตอนเช้า เป็นบทสวดมนต์ก่อนนอน หรือเป็นบทสวดมนต์เสริมดวงในช่วงที่ต้องการเสริมสิริมงคลชีวิต โดยหลักสำคัญก็คือ "การสวดโดยเข้าใจคำแปล ความหมาย และสวดด้วยจิตที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธิและสัมมาสติ" จึงจะบังเกิดอานิสงส์อย่างแท้จริง

      ส่วนจำนวนครั้งในการสวดนั้น ก็ไม่ได้มีการกำหนดจำนวนตายตัวเช่นกัน แต่หลายคนก็อาจถือเคล็ดในการสวดดังนี้

  • บทสวดอิติปิโส 3 จบ : เพื่อสรรเสริญพระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
  • บทสวดอิติปิโส 9 จบ : นอกจากหลายคนถือเลข 9 เป็นเลขมงคลแล้ว ยังเป็นตัวแทนของดาวพระเกตุ ที่เชื่อมโยงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • บทสวดอิติปิโสเท่าอายุ หรือเท่าอายุ +1 : เพื่อเสริมดวงชะตาให้แคล้วคลาดปลอดภัย ต่ออายุ
  • บทสวดอิติปิโส 108 จบ : คือเท่ากับผลรวมกำลังของดวงดาวต่างๆ 

บทสวดมนต์อิติปิโส แบบย่อ พร้อมคำแปล สวดเสริมมงคลชีวิต

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

คำแปล บทสวดอิติปิโส แบบย่อ

เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

 

บทสวดอิติปิโส แบบเต็ม บทเต็มพร้อมคำแปล

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

 

คำแปล บทสวดอิติปิโส แบบเต็ม

คำแปลบทสรรเสิญพระพุทธคุณ

เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

 

คำแปลบทสรรเสิญพระธรรมคุณ

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ


คำแปลบทสรรเสิญพระสังฆคุณ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

 

---------------------------------------------------

 

บทสวดมนต์บทอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ