มาเตือนสติ สอนใจด้วยแคปชั่นภาษาบาลี พุทธศาสนสุภาษิตที่สามารถนำมาส่งต่อความปรารถนาดี ให้ธรรมมะนำทาง หรือใช้ในการปฎิบัติตนได้ค่ะ โดยพุทธศาสนสุภาษิตนี้หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์นับเป็นความมงคลแก่ชีวิตทุกท่านค่ะ
แคปชั่นภาษาบาลี พุทธศาสนสุภาษิต
ธรรมะสอนใจให้ข้อคิด เสริมมงคลชีวิต
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดกรรม | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ | ปัดฉา ตับปะติ ทุกกะตัง | กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง |
ยานิ กโรติ ปุริโส ตานิ ปสฺสติ | ยานิ กะโรติ ปุริโส ตานิ ปัดสะติ | คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง |
ปาปานิ ปริวชฺชเย | ปาปานิ ปะริวัดชะเย | พึงละเว้นบาปกรรมทั้งหลายเสีย |
นตฺถิ กมฺมสมํ พลํ | นัดถิ กัมมะสะมัง พะลัง | ไม่มีแรงใด เสมอด้วยแรงกรรม |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดกิเลส | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา | อิดฉา โลกัดสะมิ ทุดชะหา | ความอยาก ละได้ยากในโลก |
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา | อิดฉา หิ อะนันตะโคจะรา | ความอยาก หาที่สุดไม่ได้เลย |
น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา | นะ เว อะนัดถะกุสะเลนะ อัดถะจะริยา | คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง แม้พยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข |
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย | ทุกโข ปาปัดสะ อุดจะโย | ผู้สั่งสมบาป ย่อมเป็นทุกข์ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดโกรธ | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ | โกทัง คัดตะวา สุขัง เสติ | ขจัดความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข |
โกธํ ฆตฺวา น โสจติ | โกธัง คัดตะวา นะ โสจะติ | ข่มความโกรธได้ ย่อมไม่เศร้าโศก |
ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา | ทุดถัดสะ ผะรุสา วาจา | คนโกรธ มักมีวาจาหยาบ |
สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ | สัมมา วุดโต ปะกุปปะติ | คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ |
วฑฺฒเต โส อกฺขนฺติโก | วัดทะเต โส อักขันติโก | ความโกรธเกิดจากความไม่อดทน |
น หิ สาธุ โกโธ | นะ หิ สาธุ โกโท | ความโกรธ ไม่ดีเลย |
อนตฺถชนโน โกโธ | อะนัดถะชะนะโน โกโท | ความโกรธ ย่อมก่อความพินาศ |
อกฺโกเธน ชิเน โกธํ | อักโกเธนะ ชิเน โกธัง | จงชนะความโกรธด้วยการไม่โกรธตอบ |
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ | โกทาภิภูโต กุสะลัง ชะหาติ | ผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละเลยความดี |
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ | กุดโท ธัมมัง นะ ปัดสะติ | ผู้ที่โกรธ มักมองไม่เห็นธรรม |
ทนฺตา โกธํ ปหตฺวาน | ทันตา โกธัง ปะหัดตะวานะ | ผู้ฝึกตนแล้ว ย่อมละความโกรธได้ |
นตฺถิ โทสสโม คโห | นัดถิ โทสะสะโม คะโห | ไม่มีเคราะห์ร้ายใดเสมอด้วยความโกรธ |
มา โกธสฺส วสํ คมิ | มา โกทัดสะ วะสัง คะมิ | อย่าลุอำนาจความโกรธ |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดคบหา | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย | นะ สังคะโม ปาปะชะเนนะ เสยโย | การคบหากับคนพาล ไม่ดีเลย |
สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ | สาธุ ตัดสะ อะทัดสะนัง | การไม่พบเห็นคนพาล เป็นความดี |
อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ | อะนะยัง นะยะติ ทุมเมโธ | คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด |
อธุรายํ นิยุญฺชติ | อะธุรายัง นิยุนชะติ | คนพาลมักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ |
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ | ทุนนะโย เสยยะโส โหติ | คนพาลมักเห็นผิดเป็นชอบ |
ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ | ทุบพิง กะโรติ ทุมเมโท | คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย |
ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม | ทุกโข พาเลหิ สังคะโม | คบกับคนพาล ย่อมนำทุกข์มาให้ |
ทุกฺโขปิ ปณฺฑิโต น ชหาติ | ทุกโขปิ ปันดิโต นะ ชะหาติ | บัณฑิต แม้ประสบทุกข์ ก็ไม่ทิ้งธรรม |
ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ | ทะทัง มิดตานิ คันถะติ | ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ |
นาสมฺเส กตปาปมฺหิ | นาสัมเส กะตะปาปัมหิ | ไม่ควรไว้ใจคนที่ทำบาป |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดความสัตย์ | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ | สัดเจนะ กิตติง ปัปโปติ | คนได้รับเกียรติ เพราะความซื่อสัตย์ |
สจฺจาธิฏฺฐาโน | สัดจาทิดถาโน | ควรมีสัจจะเป็นหลักมั่นอยู่ในใจ |
สจฺจมนุรกฺเขยฺย | สัดจะมะนุรักเขยยะ | ควรรักษาสัจจะ |
เอกํ หิ สจฺจํ น ทุติยมตฺถิ | เอกัง หิ สัดจัง นะ ทุติยะมัดถิ | สัจจะมีเพียงหนึ่งเดียว ไม่มีสอง |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดจิต | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
มนสา สํวโร สาธุ | มะนะสา สังวะโร สาธุ | การสำรวมทางใจเป็นการดี |
ทุกเข สุขานิ วินฺทติ | ทุกเข สุขานิ วินทะติ | คนมีปัญญา ถึงคราวทุกข์ ก็ยังหาสุขได้ |
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย | ปาปา จิตตัง นิวาระเย | ควรยับยั้งใจไม่ให้ยินดีในความชั่ว |
สจิตฺตมนุรกฺขถ | สะจิดตะมะนุรักขะถะ | จงตามรักษาจิตของตน |
ทุกฺขิโน จิตฺตํ น สมาธิยติ | ทุกขิโน จิดตัง นะ สะมาธิยะติ | จิตของผู้ที่มีความทุกข์ ย่อมไม่เป็นสมาธิ |
อนุฏฺฐานมลา ฆรา | อะนุดถานะมะลา ฆะรา | บ้านเรือนที่ไม่หมั่นดูแลรักษา ย่อมเกิดมลทิน |
อตฺตานํ อุปมํ กเร | อัดตานัง อุปะมัง กะเร | พึงเอาใจเขา มาใส่ใจเรา |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดตน | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
กาเยน สํวโร สาธุ | กาเยนะ สังวะโร สาธุ | การสำรวมทางกาย เป็นการดี |
สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร | สาธุ สับพัดถะ สังวะโร | การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี |
นาลโส วินฺทเต สุขํ | นาละโส วินทะเต สุขัง | คนเกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบความสุข |
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย | นานโย อันยัง วิโสทะเย | คนอื่นจะทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้ |
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย | อัดตะโน วะ อะเวกเขยยะ | ควรตั้งใจทำธุระของตน |
ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ | ผาติง กะยิรา อะวิเหถะยังปะรัง | ควรทำแต่ความเจริญ ไม่ควรเบียดเบียนกัน |
จาคาธิฏฺฐาโน | จาคาทิดถาโน | ควรมีความเสียสละ เป็นหลักมั่นอยู่ในใจ |
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ | สุดทิ อะสุดทิ ปัดจัดตัง | ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน |
อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ | อัดตานุรักขี ภะวะ มา อะทัยหิ | จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน |
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย | อัดตา หะเว ชิตัง เสยโย | ชนะตนนั่นแหละดีกว่า |
ปริภูโต มุทุ โหติ | ปะริพูโต มุทุ โหติ | เป็นคนอ่อนแอเกินไป มักถูกดูหมิ่น |
อสาธุ สาธุนา ชิเน | อะสาทุง สาทุนา ชิเน | พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี |
อนุมชฺฌํ สมาจเร | อะนุมัดชัง สะมาจะเร | พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี |
น ปรํ นาปิ อตฺตานํ วิหึสติ | นะ ปะรัง นาปิ อัดตานัง วิหิงสะติ | ไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น และแม้แต่ตนเอง |
ขลิตญฺจ จ คาหเย | ขะลิตันจะ จะ คาหะเย | ไม่ควรยึดถือในความผิดพลาด |
นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย | นานยัง นิดสายะ ชีเวยยะ | ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีวิต |
นตฺถิ อตฺตมํ เปมํ | นัดถิ อัตตะสะมัง เปมัง | ไม่มีความรักใด เสมอด้วยความรักตน |
ปฏิกจฺเจว กยิรา หิตมตฺตโน | ปะติกัดเจวะ กะยิรา หิตะมัดตะโน | รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบทำ |
กึ กริสฺสนฺติ ตารกา | กิง กะริดสันติ ตาระกา | อิทธิพลดวงดาว ช่วยอะไรใครไม่ได้ |
ครุ โหติ สคารโว | คะรุ โหติ สะคาระโว | ผู้เคารพ ย่อมได้รับการเคารพตอบ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดทาน | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ทุกฺขิตสฺส สกฺกจฺจ กโรติ | ทุกขิตัดสะ สักกัดจะ กะโรติ | ช่วยเหลือคนตกทุกข์ยาก ด้วยความตั้งใจ |
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร | จะเช มัดตาสุขัง ทีโร | ผู้กล้าสละสุขส่วนตน เพื่อสุขของส่วนรวม |
ยาจกํ อททนปฺปิโย | ยาจะกัง อะทะทะนับปิโย | ผู้ถูกขอ เมื่อไม่ให้ ก็ไม่เป็นที่รักของผู้ขอ |
ปิยทายิโน เทว ปิยํ ลภนฺติ | ปิยะทายิโน เทวะ ปิยัง ละพันติ | ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก |
ทีปโท โหติ จกฺขุโท | ทีปะโท โหติ จักขุโท | ผู้ให้แสงสว่าง ได้ชื่อว่าให้ดวงตา |
ชิเน กทริยํ ทาเนน | ชิเน กะทะริยัง ทาเนนะ | พึงชนะความตระหนี่ ด้วยการให้ |
ทินฺนํ โหติ สุนิพฺภตํ | ทินนัง โหติ สุนิบพะตัง | สิ่งของที่ให้ ชื่อว่าเป็นการนำออกไปอย่างดีแล้ว |
อปฺปํ วา ยทิวา พหุ | อับปัง วา ยะทิวา พะหุ | เป็นคนควรแบ่งปัน แม้จะมากหรือน้อย |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดทุกข์ | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา | อะกิญจะนัง นานุปะตันติ ทุกขา | ความทุกข์ ไม่เกิดแก่ผู้ไม่กังวล |
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ | นะ ตัง กัมมัง กะตัง สาธุ | สิ่งที่ทำแล้วเดือดร้อนในภายหลัง สิ่งนั้นไม่ดี |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบาป | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
วินยํ โส น ชานาติ | วินะยัง โส นะ ชานาติ | คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย |
อกตํ ทุกกฏํ เสยฺโย | อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย | ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า |
อรติ โลกนาสิกา | อะระติ โลกะนาสิกา | ความริษยา ทำให้โลกพินาศ |
อติโลโภ หิ ปาปโก | อะติโลโภ หิ ปาปะโก | ความละโมบโลภมาก เป็นบาป |
โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ | โลโภ ธัมมานัง ปะริปันโถ | ความโลภ เป็นอันตรายต่อทุกสิ่ง |
อนุปาเยน อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ | อะนุปาเยนะ อัดถัง อิดฉะติ โส วิหันยะติ | ผู้ปรารถนาผลด้วยวิธีที่ผิด ย่อมเดือดร้อน |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบุคคล | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
อติติกฺโข จ เวรวา | อะติติกโข จะ เวระวา | เป็นคนแข็งกระด้าง ก็มักจะมีเวร |
ยาจโก อปฺปิโย โหติ | ยาจะโก อับปิโย โหติ | ผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบุญ | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ | ธัมเม ฐิตัง นะ วิชะหาติ กิตติ | เกียรติ ย่อมไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม |
ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ | ปุนยานิ กะยิราถะ สุขาวะหานิ | ควรทำบุญอันนำมาซึ่งความสุข |
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ | ทะทะโต ปุนยัง ปะวัดทะติ | เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดประมาท | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ปมาทา ชายเต ขโย | ปะมาทา ชายะเต ขะโย | จากความประมาท ย่อมเกิดความเสื่อม |
มทา ปมาโท ชาเยถ | มะทา ปะมาโท ชาเยถะ | จากความมัวเมา ย่อมเกิดความประมาท |
มา มโท ภรตูสภ | มา มะโท ภะระตูสะภะ | ผู้ที่ปกครอง จงอย่าได้ประมาทเลย |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดปัญญา | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
สุตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ | สุตัง ปัญญายะ วัดทะนัง | การฟังเป็นเหตุให้ปัญญาเพิ่มพูน |
หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ | หาเปติ อัตถัง ทุมเมโท | คนมีปัญญาทราม ย่อมทำลายซึ่งประโยชน์ |
อินฺทริยานิ รกฺขนฺติ ปณฺฑิตา | อินทะริยานิ รักขันติ ปันดิตา | คนมีปัญญาย่อมควบคุมการแสดงออก |
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน | นัดถิ ปันยา อะชายิโน | คนไม่พินิจ เพราะไม่มีปัญญา |
ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ | ปันยายะ ปะริสุดชะติ | คนย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา |
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส | นัดถิ ชานัง อะปันยัดสะ | คนไร้ปัญญา ย่อมไม่มีความพินิจ |
ปญฺญาธิฏฺฐาโน | ปัญญาทิดถาโน | ควรมีปัญญาเป็นหลักมั่นอยู่ในใจ |
ปญฺญาปมาณํ กถิตวากฺยํ | ปัญญาปะมานัง กะถิตะวาก-กะยัง | คำพูด ย่อมบ่งบอกถึงสติปัญญาของผู้พูด |
สุขํ ปปฺโปติ ปณฺฑิโต | สุขัง ปัปโปติ ปันดิโต | ทำงานอย่างฉลาดแยบคาย ผลย่อมสำเร็จสมหมาย |
อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ | อัดโถ อัดถัดสะ นักขัดตัง | ประโยชน์ คือฤกษ์ดีในตัวมันเอง |
ปญฺญา หิ เสฎฺฐา กุสลา วทนฺติ | ปันยา หิ เสดถา กุสะลา วะทันติ | ปราชญ์ว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด |
ปญฺญา เจนํ ปสาสติ | ปันยา เจนัง ปะสาสะติ | ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน |
โยคา เว ชายเต ภูริ | โยคา เว ชายะเต ภูริ | ปัญญา ย่อมเกิดขึ้นเพราะการฝึกฝน |
ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ | ปันยายัดถัง วิปัดสะติ | ผู้ฉลาดย่อมเห็นแจ้งความจริง ด้วยปัญญา |
อปฺปตฺโต โน จ อุลฺลเป | อัปปัตโต โน จะ อุลละเป | เมื่อความสำเร็จยังไม่มาถึง ไม่พึงพูดโอ้อวด |
อนตฺเถ น ยุตฺโต สิยา | อะนัดเถ นะ ยุดโต สิยา | ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดเพียร | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา | ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา | ขันติคือความอดทนเป็น ความเพียรอย่างยิ่ง |
ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ | ตัง เว พัดเทกะรัดโตติ | คนที่ขยัน วันแต่ละวันคือวันโชคดี |
หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ | หิยโยติ หิยยะติ โปโส ปะเรติ | คนที่ผัดวันประกันพรุ่ง มีแต่ความเสื่อม |
น หิยติ สจฺจปรกฺกโม มุนิ | นะ หิยะติ สัดจะปะรักกะโม มุนิ | คนมีความรู้ บากบั่นและจริงจัง ย่อมไม่ตกต่ำ |
กมฺมํ ทฬฺห กินฺติ กโรมิทานิ | กัมมัง ทันหะ กินติ กะโรมิทานิ | ควรตั้งใจให้มั่นว่า เดี๋ยวนี้เราจะทำการงานอะไร |
วายมสฺสุ สกิจฺเจสุ | วายะมัดสุ สะกิดเจสุ | จงพยายามในหน้าที่ของตน |
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ | อัดเชวะ กิดจะมาตับปัง | จงรีบทำความเพียรเสียแต่ในวันนี้ |
กยิรา เจ กริยาเถนํ | กะยิรา เจ กะริยาเถนัง | ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง |
อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ | อะนิบพินทิยะการิดสะ สัมมะทัดโถ วิปัดจะติ | ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ย่อมสำเร็จสมหมาย |
นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา | นิบผันนะโสภิโน อัดถา | ประโยชน์จะงดงาม ต่อเมื่อประสบผลสำเร็จ |
อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว | อัดถา อัดเจนติ มานะเว | ประโยชน์ย่อมล่วงเลยผู้ที่ละทิ้งการงาน |
วายเมเถว ปุริโส ยาว นิปฺปทา | วายะเมเถวะ ปุริโส ยาวะ นิปปะทา | เป็นคนควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าประสบผล |
สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ | สะกัมมุนา โห-ติ ผะลูปะปัดติ | ผลสำเร็จ ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน |
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา | อัดตานัง ทะมะยันติ สุบพะตา | ผู้ประพฤติดีย่อมฝึกตน |
กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญเช | กาลานุรูปังวะ ทุรัง นิยุนเช | พึงทำการงาน ให้เหมาะสมกับเวลา |
อโมฆํ ทิวสํ กยิรา | อะโมคัง ทิวะสัง กะยิรา | เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า |
รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ | รัดโย อะโมคา คัดฉันติ | อย่าให้คืนวันผ่านไปเปล่า |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดมิตร | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ | อาปะทาสุ ถาโม เวทิตับโพ | กำลังใจจะรู้ได้เมื่อมีอันตราย |
สนฺโต สตฺตหิเต รตา | สันโต สัดตะหิเต ระตา | คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่น |
สพฺเพสํ สหิโต โหติ | สับเพสัง สะหิโต โหติ | คนดีบำเพ็ญประโยชน์แก่คนทั้งปวง |
สพฺเพ ตรติ มิตฺตานํ น ทุพฺภติ | สับเพ ตะระติ มิดตานัง นะ ทุบพะติ | ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวงได้ |
สพฺพตฺถ ปูชิโต มิตฺตานํ น ทุพฺภติ | สับพัดถะ ปูชิโต มิดตานัง นะ ทุบพะติ | ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้ยกย่องในทุกๆ ที่ |
นตฺถิ วิชฺชาสมํ มิตฺตํ | นัดถิ วิดชาสะมัง มิดตัง | ไม่มีมิตรใดเสมอด้วยวิชาความรู้ |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดไม่ประมาท | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
น กิเรว สาธุ อติเวลภาณี | นะ กิเรวะ สาธุ อะติเวละพานี | การพูดเกินขอบเขต ไม่เกิดผลดี |
ขยา ปโทสา ชายนฺติ | ขะยา ปะโทสา ชายันติ | จากความเสื่อม ย่อมเกิดโทษ |
กิจฺจกโร สิยา น จ มชฺเช | กิดจะกะโร สิยา นะ จะ มัดเช | ทุกคนควรทำหน้าที่ของตน และไม่ควรประมาท |
ปุริสกิจฺจานิ น ปจฺฉานุตปฺปติ | ปุริสะกิดจานิ นะ ปัดฉานุตัปปะติ | เมื่อทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ควรร้อนใจในภายหลัง |
กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ | กาลาคะตันจะ นะ หาเปติ อัดถัง | เมื่อประโยชน์มาถึงแล้ว อย่าปล่อยให้ล่วงไปเปล่า |
กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ | กะตัดสะ นัดถิ ปะติการัง | สิ่งที่ทำแล้ว จะทำกลับคืนไม่ได้ |
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดวาจา | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ | โมกโข กัลยานิยา สาทุ | กล่าววาจางาม ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จ |
สาธุ วาจาย สํวโร | สาธุ วาจายะ สังวะโร | การสำรวมทางวาจาเป็นการดี |
ยถาวาที ตถาการี | ยะถาวาที ตะถาการี | คนจริงพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น |
นาภาสมาเน ชานนฺติ พาเลหิ ปณฺฑิตํ | นาภาสะมาเน ชานันติ พาเลหิ ปันดิตัง | คนเราเมื่อยังไม่พูด ก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต |
วาจํ มุญเจยฺย กลฺยาณึ | วาจัง มุนเจยยะ กัลยานิง | ควรกล่าวแต่วาจามีประโยชน์ |
สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญเจ | สันหัง คิรัง อัดถะวะติง ปะมุนเจ | ควรกล่าววาจาไพเราะ ที่มีประโยชน์ |
สจฺเจนาลิกวาทินํ | สัจเจนาลิกะวาทินัง | พึงชนะคนพูดปด ด้วยคำจริง |
สมฺมุขา นาติขีณํ ภเณ | สัมมุขา นาติขีนัง ภะเน | ไม่ควรกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า |
รโห วาทํ น ภาเสยฺย | ระโห วาทัง นะ พาเสยยะ | ไม่ควรกล่าววาทะลับหลัง |
อตฺตา ชานาติ สจฺจํ วา ยทิ วา มุสา | อัดตา ชานาติ สัดจัง วา ยะทิ วา มุสา | อะไรจะจริงหรือเท็จ ตนก็ย่อมจะรู้เอง |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดศีล | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ | สีลัง กิเรวะ กัลยานัง | การมีศีลนั่นแหล่ะ เป็นความดี |
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย | สุโข ปุนยัดสะ อุดจะโย | การสร้างสมความดี นำสุขมาให้ |
กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ | กัมมุนา โหติ พราหมะโน | คนเราจะดี เพราะการกระทำ |
อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ | อะพิดถะเรถะ กัลยาเณ | ควรใฝ่หาแต่ความดี |
สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ | สาธุ ปาเปนะ ทุกกะรัง | ความดี คนชั่วทำยาก |
สุกรํ สาธุนา สาธุ | สุกะรัง สาธุนา สาธุ | ความดี คนดี ทำง่าย |
ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ | ปุนยัง โจเรหิ ทูหะรัง | ความดี โจรขโมยลักพาไปไม่ได้ |
สยํ กตานิ ปุญญานิ ตํ ธนํ | สะยัง กะตานิ ปุนยานิ ตัง ทะนัง | ความดีที่ทำตนเองไว้ จะเป็นทรัพย์ติดตามตนไป |
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย | กะตันจะ สุกะตัง เสยโย | ทำความดีไว้ ย่อมดีกว่า |
คุณวา จาตฺตโน คุณํ | คุนะวา จาดตะโน คุนัง | ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้ |
เมตฺตา ภาเวตพฺพา พฺยาปาทสฺส | เมดตา ภาเวตับพา พะยาปาทัดสะ | พึงเจริญเมตตา เพื่อละความพยาบาท |
น ปเรสํ กตากตํ | นะ ปะเรสัง กะตากะตัง | ไม่ควรจ้องธุระที่คนอื่นทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ |
สีลํ กวจมพฺภุตํ | สีลัง กะวะจะมับพุตัง | ศีล เป็นเกราะคุ้มกันอย่างอัศจรรย์ |
สีลํ อาภรณํ เสฎฺฐํ | สีลัง อาภะระนัง เสดถัง | ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดสติ | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ | จิดตัดสะ ทะมะโถ สาทุ | การฝึกจิต เป็นการดี |
กาลญฺจ ญตฺวาน ตถาวิธสฺส | กาลันจะ ยัดตะวานะ ตะถาวิทัดสะ | คนฉลาด พึงรู้จักเวลาควร ไม่ควร |
สติมโต สุเว เสยฺโย | สะติมะโต สุเว เสย-โย | คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน |
สมฺปชญฺญํ อตฺถาย สํวตฺตติ | สัมปะชันยัง อัดถายะ สังวัดตะติ | ความรู้สึกตัวอยู่เสมอ มีประโยชน์ยิ่งใหญ่ |
นิสมฺม กรณํ เสยฺโย | นิสัมมะ กะระนัง เสยโย | ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า |
อนาคตํ ปฏิกยิราถ กิจฺจํ | อะนาคะตัง ปะติกะยิราถะ กิดจัง | เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ |
มนฺโท ปจฺฉานุตปฺปติ | มันโท ปัดฉานุตัปปะติ | ทำงานโดยผลีผลาม จะเดือดร้อน ในภายหลัง |
ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา | ปะติสังขานะพะลา พะหุดสุตา | ผู้ที่ฟังมาก ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ |
รกฺขมาโน สโต รกฺเข | รักขะมาโน สะโต รักเข | ผู้ที่รักษา ควรมีสติรักษา |
สติมโต สทา ภทฺทํ | สะติมะโต สะทา พัดทัง | ผู้มีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคตลอดเวลา |
สติมา สุขเมธติ | สะติมา สุขะเมทะติ | ผู้มีสติ ย่อมมีความสุข |
รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ | รักเขยยานาคะตัง ภะยัง | พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง |
โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ | โยนิโส วิจิเน ธัมมัง | พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ |
สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ | สังเกยยะ สังกิตัพพานิ | พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง |
สติ เตสํ นิวารณํ | สะติ เตสัง นิวาระนัง | มีสติ ป้องกันเหตุร้ายๆได้ |
นาสฺมเส อลิกวาทิเน | นาดสะมะเส อะลิกะวาทิเน | ไม่ควรไว้วางใจ ในคนพูดพล่อย |
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา | สะติ สับพัดถะ ปัดถิยา | สติ จำเป็นต้องใช้ในทุกๆที่ |
สติ โลกสฺมิ ชาคโร | สะติ โลกัดสะมิ ชาคะโร | สติ ทำให้ตื่นตัวอยู่ในโลก |
มา จ สาวชฺชมาคมา | มา จะ สาวัดชะมาคะมา | อย่าทำการงาน ที่มีโทษเลย |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดสามัคคี | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ | ภูตัง เสสัง ทะยิตัพพัง | คนทุกคน ควรเกื้อกูลกัน |
สมคฺคานํ ตโป สุโข | สะมัคคานัง ตะโป สุโข | ความเพียรพยายามเพื่อสามัคคีกัน ให้เกิดความสุข |
สมคฺคานํ สขิลา โหถ | สะมัคคานัง สะขิลา โหถะ | จงสามัคคี มีน้ำใจดีต่อกันเถิด |
นานาทิฎฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต | นานาทิดฐิเก นานะยิดสะสิ เต | ต่างคนต่างความเห็น จะให้เห็นเหมือนกันหมดไม่ได้ |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดสุข | ||
คำบาลี | คำอ่าน | คำแปล |
อปฺปิจฺฉตา อตฺถาย สํวตฺตติ | อับปิดฉะตา อัดถายะ สังวัดตะติ | ความมักน้อย มีประโยชน์อันยิ่งใหญ่ |
ปาปานํ อกรณํ สุขํ | ปาปานัง อะกะระนัง สุขัง | การไม่ทำความชั่ว ให้เกิดความสุข |
น โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา | นะ โหติ สุขัง ทุกกะตะการินา | หมวดปัญญา |
อุปสมาธิฏฺฐาโน | อุปะสะมาทิดถาโน | ควรมีความสงบใจเป็นหลักมั่นอยู่ในใจ |
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ | จิดตัง ทันตัง สุขาวะหัง | จิต ที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ |
อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย | อัดตา หิ ปะระมัง ปิโย | ตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่ง |
ญาโต อตฺโถ สุขาวโห | ญาโต อัดโถ สุขาวะโห | ประโยชน์ที่รู้จักแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ |
สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา | สุขา สัทธา ปะติดฐิตา | ศรัทธาที่มั่นคงแล้ว นำสุขมาให้ |
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ | ตันจะ กัมมัง กะตัง สาธุ | สิ่งที่ทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง สิ่งนั้นดี |
ฉนฺทานิทานานิ ปิยานิ โลเก | ฉันทานิทานานิ ปิยานิ โลเก | สิ่งเป็นที่รักในโลกนี้ เพราะมีความพอใจเป็นเหตุ |
สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ | สับพัง อิดสะริยัง สุขัง | อิสรภาพทุกอย่าง เป็นความสุข |
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดกรรม | ||
คำเขียน | คำอ่าน | คำแปล |
ขนฺติ สาหสวารณา | ขันติ สาหะสะวาระณา | ความอดทนห้ามไว้ได้ซึ่งความ ผลุนผลัน |
มนาโป โหติ ขนฺติโก | มะนาโป โหติ ขันติโก | ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจ ของคนอื่น |
น ปเรสํ วิโลมานิ | นะ ปะเรสัง วิโลมานิ | ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น |
ขนฺติ หิตสุขาวหา | ขันติ หิตะสุขาวะหา | ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข |
บทความที่คุณอาจสนใจ
- บทสวดมนต์ วันพระ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา สวดแล้วดี ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
- วันนี้วันพระ รวมบทสวดมนต์ พร้อมคำอ่านและคำแปล สวดเสริมดวงให้รุ่งเรือง มีโชคลาภ
- บทสวดมนต์ประจำวันแบบย่อ สวดสั้นๆ ก่อนนอน ตอนเช้า หรือระหว่างวัน เสริมดวงและสิริมงคล
- ชวนทำบุญ 10 มูลนิธิ ในวันพระใหญ่ ปี 66 ผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท
- แคปชั่นขอขมาพ่อแม่ 2566 แคปชั่นขอโทษพ่อแม่ จะวันพ่อ วันแม่ วันสงกรานต์ วันไหนๆ แทนใจแถมได้ Like & Share